หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฏฐนาถ ศรีเลิศ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมในคัมภีร์สัมภารวิบากเพื่อพัฒนาชีวิต
ชื่อผู้วิจัย : ณัฏฐนาถ ศรีเลิศ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวรเมธี
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

 

งานดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาคัมภีร์สัมภารวิบาก  ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตในคัมภีร์สัมภารวิบาก ๓) เพื่อศึกษาแนวทางประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในคัมภีร์สัมภารวิบากเพื่อพัฒนาชีวิตจากการศึกษา พบว่า คุณค่าและความสำคัญของคัมภีร์สัมภารวิบาก คือ กระบวนการสั่งสมบารมีของบุคคลกว่าจะมาเป็นพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ผู้สั่งสมคุณความดี เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า สมภารวิบาก คือ ผลแห่งสัมภาร หมายถึง การสั่งสมคุณความดี คือ บารมี ๑๐ ประการ ได้แก่ (๑) ทานบารมี (๒)  ศีลบารมี  (๓)  เนกขัมมบารมี (๔)  ปัญญาบารมี  (๕)  วิริยบารมี  (๖)  ขันติบารมี  (๗)  สัจจบารมี  (๘)  อธิษฐานบารมี  (๙)  เมตตาบารมี  (๑๐)  อุเบกขาบารมี ประพฤติปฏิบัติแบบปกติธรรมดา เช่น ให้สิ่งของเป็นทาน เรียกว่า ทานบารมี ประพฤติปฏิบัติแบบยิ่งขึ้นไป ถึงกับต้องสละอวัยวะเป็นทานเรียกว่า ทานอุปบารมี ประพฤติปฏิบัติแบบยิ่งขึ้นไปสูงสุด เช่น สละชีวิตเป็นทาน เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี แสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจครอบคลุมวิถีชีวิตของมวลหมู่มนุษย์ ผู้ประกอบการใด ๆ ไว้ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว ก็ย่อมจะได้รับผลของกรรมนั้นอย่างยุติธรรม การที่เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ เปรียบเสมือนอยู่ในสนามแห่งการเลือกสรรแห่งการสร้างกรรมและรับผลของกรรมที่มวลมนุษย์ได้สร้างกรรมไว้แต่ในชาติปางก่อน (กรรมเก่า) เมื่อผลกรรมตามมาทัน โดยกรรมนี้จะทำหน้าที่ของตนอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ละเว้นทั้งผู้ที่กระทำดี จะได้รับผลดีเป็นสิ่งตอบแทนและผู้ที่กระทำชั่ว ก็จะได้รับผลชั่วเป็นสิ่งตอบแทน เพราะฉะนั้นคุณค่าและความสำคัญของคัมภีร์สัมภารวิบากจึงปรากฏนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจากรุ่นสู่รุ่นของชาวพุทธเรื่อยมา

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕