หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระคำผาย ปสนฺโน (วงศ์ละคร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
ศึกษาจริยธรรมของหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคด้วยสมุนไพรในทัศนะของหมอพื้นบ้านเขตเทศบาลนครอุดรธานี(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระคำผาย ปสนฺโน (วงศ์ละคร) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต
  ดร. ประยูร แสงใส
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ เมษายน ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษา ความเป็นมาและความสำคัญของหมอพื้นบ้าน ศึกษาถึง จริยธรรมสำหรับหมอพื้นบ้าน และจริยธรรมของหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคด้วยสมุนไพร

ผลการวิจัยพบว่า จริยธรรมที่หมอพื้นบ้าน ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติแบ่งออก
เป็น ๓ ประเด็นคือ
๑. ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของหมอพื้นบ้านมีพัฒนาการในการรักษาโรคของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค มีวิธีการสืบทอดด้วยการท่องจำจนขึ้นใจ ต่อมามีการจดบันทึกรวบรวมเป็นตำรายาต่างๆ เช่น ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ หมอพื้นบ้านได้ยึดหลักคำสอนในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ซึ่งกล่าวถึงจริยธรรมของหมอพื้นบ้านไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน
๒. หมอพื้นบ้านสามารถนำหลักพุทธจริยธรรมที่สอดคล้องกับการรักษาโรคได้แก่ อกุศลมูล ๓ พรหมวิหาร ๔ อิทธิบาท ๔ และยึดคุณสมบัติของผู้พยาบาลไข้นำมาประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาด้านการรักษาโรค และการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องผลจากการที่ดำเนินตามหลักจริยธรรม ทำให้หมอพื้นบ้านเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหลาย การที่หมอพื้นบ้านประพฤติปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นจริยธรรมก็จะเป็นเกาะป้องกันอันตรายแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตามไม่ให้ประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ และยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมด้านจริยธรรมของหมอพื้นบ้านไม่ให้เสื่อมสลาย
๓. ปัญหาจริยธรรมของหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคด้วยสมุนไพร ในปัจจุบันถือว่าเป็นปัญหาใหญ่เพราะ เกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจ ความเห็นแก่ตัว บางคนอยากจะเป็นหมอเพราะรายได้ดี แต่ขาดการเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ประพฤติผิดศีลขาดจิตสำนึกในความเป็นหมอ มีความโลภเห็นแก่ได้
แนวทางแก้ปัญหาจริยธรรมคือ จะต้องขอความร่วมมือทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนประชาชน ช่วยกันดูแล รักษาภูมิปัญญาอันล้ำค่าของคนไทย อย่าให้คนแอบอ้าง ไปเป็นช่องทางหากินในทางที่ผิดจริยธรรม
หมอพื้นบ้านทั้ง ๓ ท่าน ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาจริยธรรมของหมอพื้นบ้านดังนี้
(๑) หมอพนม หอมสมบัติ ยึดหลักการมี สติ และ สัมปชัญญะ
(๒) หมอสำราญ ลุนทาลา ยึดหลักการมี พรหมวิหาร ๔
(๓) หมอทองรัก เพ็ชรเขียว ยึดหลักการไม่มี อคติ ๔ เป็นแนวทางเสนอแนะให้หมอพื้นบ้านประพฤติตาม
การรักษาโรคตามแนวทางของหมอพื้นบ้านทั้ง ๓ ท่านมีอยู่ ๒ แบบ คือ
(๑) การรักษาโรคแบบดั้งเดิมคือ การรักษาโรคโดยอาศัยความรู้จากตำรา หรือ การเรียนสืบต่อๆ กันมา ซึ่งมิใช่การรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบันเช่น ยาฝน ยาต้ม ยาแช่
(๒) การรักษาโรคแบบแพทย์แผนไทยคือ กระบวนการรักษาโรคอาศัยหลักวิชาการ ใช้เครื่องมือทางวิชาการแพทย์ วินิจฉัย และรักษาโรคตามขบวนการ อย่างมีระบบ

Download : 255187.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕