หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสิทธิชัย สิทฺธิชโย (อ่อนสี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสิทธิชัย สิทฺธิชโย (อ่อนสี) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

  การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตาม สถานะ อายุ ระดับชั้นพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ การจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

 

 

     ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระภิกษุสามเณร ที่กำลังศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐  จำนวน ๑๘๑ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วน (Stratified random sampling) และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรคำนวณกำหนดกลุ่มตัวอย่างเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์  โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (T-test) และการทดสอบค่าเอฟ
(
F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)  ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท        

 

                     ผลการวิจัยพบว่า

       ๑. การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ๑) ด้านหลักสูตร มีระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก  อยู่ในระดับปานกลาง  ๒) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.97, S.D.= 0.692) ๓) ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.54, S.D.= 0.656) ๔) การวัดและประเมินผล ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.41, S.D.= 0.976)

 

  ๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตาม สถานะ อายุ ระดับชั้นพระปริยัติธรรม แผนกธรรม พบว่า พระภิกษุสามเณรที่มี สถานะ อายุ ระดับชั้นพระปริยัติธรรม แผนกธรรม
มีระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้  

          ๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ  ปัญหา อุปสรรค คือ ๑) เนื้อหาหลักด้านหลักสูตรมีความหลากหลายเกินไป  ๒) ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้อยเกินไป ๓) สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอต่อผู้เรียน  ๔) ครูผู้สอนไม่ค่อยมีการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างยิ่งจัง  ข้อเสนอแนะ คือ ๑) ควรปรับโครงสร้างหลักสูตรให้เหมาะสม โดยยึดวุฒิภาวะของผู้เรียน และลดวิชาการทางโลกบางวิชาที่ไม่สำคัญ และปรับการเรียนแผนกธรรม ให้มีเนื้อหาลดน้อยลง แต่คงไว้ในประเด็นสำคัญที่ผู้เรียนควรเข้าใจ ลดการเน้นท่องจำ ให้เน้นการคิดวิเคราะห์มากขึ้น โดยมีการศึกษาวิจัยการรวมหลักสูตรพระปริยัติธรรมทั้ง ๒ แผนกดังกล่าว และศึกษาวิจัยเนื้อหาสาระของหลักสูตรธรรมที่สมควรกำหนดให้เรียนในแผนก สามัญศึกษา เพื่อนำมากำหนดหลักสูตร
๒ ) ครูควรศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนให้มากยิ่งขึ้น ๓) ผู้บริหาร ครูผู้สอนต้องจัดหาสื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอต่อผู้เรียน ๔) ครูควรให้ความใส่ใจอย่างจริงจังกับการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕