หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอัมราช อมรเสวี (เหมัง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
การศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของครูและนักเรียน สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม กรุงเทพมหานคร(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอัมราช อมรเสวี (เหมัง) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๖ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนของครูและนักเรียนสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม  กรุงเทพมหานคร ๒. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของครูและนักเรียนสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม  กรุงเทพมหานคร ๓. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางทางการพัฒนาการเรียนการสอนของครูและนักเรียนสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม  กรุงเทพมหานคร เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นครูและนักเรียนสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและนักเรียนสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม จำนวน ๓๕๐ รูป/คน และแบบสอบถามนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ๕ ท่าน ตรวจหาค่า IOC และได้ค่าความสอดคล้องของ IOC เท่ากับ ๐.๘-๑ จากนั้นนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่เป้าหมายที่เป็นนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม สำนักเรียนวัดทองธรรมชาติวรวิหาร เขตคลองสาน จำนวน ๓๐ ฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ ๐.๘๖๓ นำไปเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๕๐ รูป/คน และเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน ๗ ท่านให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ    โดยการสถิติวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย (mean)  ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบความคิดเห็นครูและนักเรียนทดสอบค่าที (t–test) และ   ค่าเอฟ (F–test) กรณีตัวแปรมากกว่าสองกลุ่มทางเดียว (One Way Anova) ทางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ รายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheff) โดยกำหนดระดับสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.


ผลการวิจัย

ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน พบว่า หลักสูตรมีเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ได้เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๕ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๖๔ นอกจากนี้ในประเด็นของหลักสูตรมีเนื้อหาสาระมากเป็นเหตุให้นักเรียนเรียนไม่ทันเวลา พบว่าอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๘และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๑.๑๐ เป็นลำดับสุดท้าย

ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนให้นักเรียนได้ทราบทุกครั้ง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.45และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.72 นอกจากนี้ในประเด็นเรื่องของครูมีเทคนิคการสอนแต่ละครั้งมีความหลากหลาย ก็อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.67 เป็นลำดับสุดท้าย

ด้านสื่อการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่าด้านครูใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายในการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๐.70 นอกจากนี้ในประเด็นเรื่องของครูใช้สิ่งแวดล้อมเป็นสื่อการเรียนรู้ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์เรียนรู้ตนเองจากสภาพจริง อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.79 เป็นลำดับสุดท้าย

ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนพบว่าครูมีการประเมินผลการเรียนประจำปีทุกภาคการศึกษา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๐.75 นอกจากนี้ในประเด็นการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนสอดคล้องกับแผนการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ0.81เป็นลำดับสุดท้าย

แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม

๑. ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ครูสอนควรศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสอน

. ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรมีกิจกรรมที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอน

. ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรมีสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน ควรมีเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลและเครื่องมือที่ทันสมัยและเพียงพอ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕