หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุวิทย์ กล้าขยัน
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๘ ครั้ง
แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามหลักสาราณียธรรม: ศึกษากรณี บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) สาขาพิมาย (สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สุวิทย์ กล้าขยัน ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
  อุทัย สติมั่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : เมษายน 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

            วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง   ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกรณีการเลิกจ้างของบริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด  ( มหาชน ) สาขาพิมาย   ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างของบริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด ( มหาชน ) สาขาพิมาย ตามหลักสาราณียธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-Interview

 

            ผลการวิจัยพบว่า การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง  เป็นความสัมพันธ์ที่จะส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร  ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ๔ ด้าน คือ  ในด้านเชิงทวิภาคี  ในด้านเชิงกฎหมาย  ในด้านเชิงการบริหาร  ในด้านเชิงองค์รวม  และในทางพระพุทธศาสนาอีก ๖ ด้าน คือ การทำหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามหลักทิศ ๖,  ตามหลักจริต  ๖,  การเปิดใจกว้างหนักแน่น, การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี,  การรู้จักคิดในเชิงบวก, และการคิดอย่างไม่มีอคติ  ทั้งหมดเป็นแนวทางเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข และสันติภาพ 

สภาพปัญหาและการสร้างความสัมพันธ์ของบริษัทฯ พบว่า บริษัทมีนโยบายในการดำเนินการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ด้าน  คือ  ด้านนโยบายและภาพรวมประกอบธุรกิจ, ด้านคุณภาพ, ด้านนโยบายการทำงานของพนักงาน เมื่อบริษัทถูกปิดตัวลงก็ได้ทำการเยียวยาพนักงานด้วยการจ่ายเงินชดเชยครบทุกบาทและทุกคน เพราะบริษัทกับพนักงานมีความสัมพันธ์ เห็นอกเห็นใจและห่วงใยซึ่งกันและกัน

        จากการวิเคราะห์พบว่า ทั้งบริษัทและพนักงานได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งได้สอดคล้องกับหลักสาราณียธรรม ๖ คือ กระทำดีต่อกัน พูดดีต่อกัน จริงใจต่อกัน แบ่งปันผลประโยชน์ที่ดีต่อกัน  ยึดนโยบายหรือหลักการที่ดีต่อกัน  และคิดเห็นที่ดีต่อกัน ซึ่งได้ทำให้ทุกฝ่ายเกิดความสามัคคีปรองดองและรักใคร่ห่วงใยกัน       

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕