หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุรวุฒิ บูลกุล
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การบริหารองค์กรธุรกิจตามหลักพุทธธรรมาภิบาล (สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สุรวุฒิ บูลกุล ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

ในการศึกษาวิเคราะห์แนวคิดการบริหารองค์กรธุรกิจตามหลักพุทธธรรมาภิบาลผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้  ๓ ประการ คือ  (๑)  เพื่อศึกษาการบริหารองค์กรธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล  (๒)  เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในพระพุทธศาสนา  (๓)  เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรธุรกิจ  ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ จากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและจากเอกสารวิชาการทั่วไป

จากการศึกษาวิจัยพบว่า การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น  จะต้องประสานกำลังวัตถุและกำลังคนเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  กล่าวคือ  มีการใช้คน  เงิน  วัตถุดิบ เครื่องจักร วิธีการจัดการ และ การตลาด  เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติการบริหารองค์กรธุรกิจทั้งหมดล้วนเป็นระบบองค์กรดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรเป็นหลัก  การแสวงหากำไรสูงสุดเป็นเป้าหมายสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ  ผลที่ปรากฎตามมาก่อให้เกิดปัญหาเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การทุจริต การบิดเบือนหรือปกปิดข้อมูล  และการเหลื่อมล้ำหรือช่องว่างทางเศรษฐกิจ เป็นต้น  จึงเป็นที่มาของการกำหนดหลักธรรมาภิบาลเพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม  หลักความความโปร่งใส  หลักการมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทั้งนี้ก็ด้วยหวังจะนำไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจดังกล่าว

หลักธรรมาภิบาลในทางพระพุทธศาสนา ผู้วิจัยพบว่า  พระพุทธเจ้าทรงปรารถนาให้สังคมมีการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งธรรมะ  เป็นสังคมที่ยกย่องบูชาและยึดถือธรรมะเป็นหลักเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน  ดังนั้น หลักธรรมาภิบาลในพระพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมะที่มีลักษณะเนื้อหาไปในทิศทางด้านบริหารจัดการ  การปกครอง การสร้างมนุษย์สัมพันธ์เพื่อการอยู่ร่วมกัน  เป็นหลักที่เป็นไปเพื่อรักษาหรือสร้างธรรมะให้เกิดขึ้นในตนและสังคม  เช่น หลักเบญจศีล หลักสุจริต ๓ หลักทิศ ๖  หลักอปริหานิยธรรม หลักเบญจธรรมและหลักโภควิภาค เป็นต้น

           จากแนวคิดทั้งหลักธรรมาภิบาลของนักวิชาการและหลักพุทธธรรมาภิบาล  ผู้วิจัยพบว่า เมื่อนำแนวคิดทั้งสองมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อการประยุกต์ใช้  แนวคิดหรือองค์ประกอบที่เกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลในพระพุทธศาสนานั้นมี  ๓ หมวด  คือ  หมวดจริยธรรมขององค์กรธุรกิจ  หมวดอุดมการณ์ในการบริหารองค์กรธุรกิจ  และหมวดผลธรรมขององค์กรธุรกิจ  กล่าวคือ  หมวดจริยธรรมขององค์กรธุรกิจที่สะท้อนหลักนิติธรรม และหลักความโปร่งใส ได้แก่  หลักเบญจศีล และหลักสุจริต ๓  หมวดอุดมการณ์ในการบริหารองค์กรธุรกิจที่สะท้อนหลักความรับผิดชอบ และหลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ หลักทิศ ๖ และหลักอปริหานิยธรรม   หมวดผลธรรมขององค์กรธุรกิจที่สะท้อนหลักคุณธรรม และหลักความคุ้มค่า ได้แก่ หลักเบญจธรรม และหลักโภควิภาค  ทั้งหมดเป็นข้อปฏิบัติหรือกฏกติกาที่สามารถนำไปบริหารจัดการองค์กรธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและสร้างสันติสุขได้   

 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕