หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสามร พฺรหฺมเถโร (หยก)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
ศึกษาอุโบสถกรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระสามร พฺรหฺมเถโร (หยก) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชรัตนมุนี
  สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ เรื่องศึกษาอุโบสถกรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑). ศึกษาประวัติความเป็นมาของอุโบสถกรรม ๒). ศึกษาพระวินัยเกี่ยวกับการทำอุโบสถกรรม ๓).วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของอุโบสถกรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท

      ผลการวิจัยพบว่พระอุโบสถกรรมเป็นเปรียบเหมือนหัวใจของพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  มีความสำคัญแก่พระสงฆ์ในการทำสังฆกรรมต่างๆ เช่น การอุปสมบทเป็นต้น

       อุโบสถกรรมเป็นพระบรมอนุญาตเพื่อความพร้อมเพรียงของหมู่คณะซึ่งต้องกระทำในอุโบสถ อุโบสถกรรมมีความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์โดยตรงในฐานะต่างๆ กันเช่น การสวดปาฏิโมกข์ เป็นต้น เป็นกิจวัตรที่พระสงฆ์ภายในวัดทุกรูปต้องทำเป็นประจำ ในเรื่องความสำคัญของอุโบสถกรรม พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตอุโบสถกรรมเพื่อความสามัคคีของหมู่คณะ และทรงบัญญัติพระวินัยของสงฆ์ที่เกี่ยวข้องกับอุโบสถกรรม มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือในการทำสังฆกรรมต่างๆของพระสงฆ์ เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ อุโบสถกรรม มีความสำคัญในฐานะเป็นพิธีกรรมของสงฆ์ในการปกครองคณะสงฆ์โดยผ่านทางอำนาจในการบริหารและอำนาจตุลาการของพระสงฆ์ และอุโบสถกรรมมีความสำคัญในการเป็นเครื่องมือระงับวิวาทาธิกรณ์ของพระสงฆ์ เมื่อมีความขัดแย้งกัน การระงับอธิกรณ์ จัดเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติทุติกรรมที่พระสงฆ์ต้องทำภายในอุโบสถกรรมเท่านั้น

      ในส่วนของคุณค่าของอุโบสถกรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท อุโบสถมีความสำคัญสำหรับพระสงฆ์ในการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันอุโบสถกรรมมีความสำคัญ ๒ ส่วน คือส่วนพระวินัยที่เป็นพุทธบัญญัติและส่วนที่เป็นวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕