หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุธี สจฺจวีโร (เพชร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
ศึกษาหลักธรรมและแนวทางการเจริญวิปัสสนาภาวนาในภารสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุธี สจฺจวีโร (เพชร) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาชิต ฐานชิโต
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ ได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาหลักธรรมในภารสูตร
๒) เพื่อศึกษาและแนวทางการเจริญวิปัสสนาภาวนาในภารสูตร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกอรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยการเรียบเรียงบรรยายตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ

จากการศึกษา พบว่า หลักธรรมสำคัญในภารสูตร คือพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องขันธ์๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณขันธ์ทั้ง ๕ สัตว์ทั้งหลายเกิดเป็นตัวตนเพราะการประกอบของขันธ์ ๕ การยึดถือขันธ์ ๕ เป็นภาระเนื่องจากต้องยึดถือและแบกภาระคือขันธ์ ๕ นี้จนกว่าจะแตกดับ ผู้แบกภาระคือผู้ถือว่าตนเองและตระกูลนั้น-นี่ เครื่องถือมั่นเป็นภาระคือตัณหา ๓ซึ่งนำไปสู่ภพใหม่เพราะความเพลิดเพลินในอารมณ์ การวางภาระคือการถอนตัณหา สละคืน พ้น ไม่อาลัย ไม่ถือภาระอื่น เป็นผู้หายอยาก ถือว่าเป็นผู้วางภาระได้

แนวทางการเจริญวิปัสสนาภาวนาในภารสูตร พบว่า หลักขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาในหมวดธัมมานุปัสนาสติปัฏฐานได้โดยตรง ในการเจริญวิปัสสนาผู้ปฏิบัติต้องมีจิตปกติจิตสงบจากสิ่งรบกวนภายนอก ไม่ฟุ้งซ่าน จากนั้นให้เริ่มตั้งสติพิจารณาอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะปัจจุบันโดยจำแนกให้เห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฏชัดให้เห็นว่าสักว่าเป็นธรรม ในแต่ละส่วนจนจิตเห็นแจ้งโดยย่อให้เป็นรูป-นาม ลงในไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตก็จะเข้าสู่ลำดับของวิปัสสนาญาณ เมื่อญาณพัฒนาไปโดยไม่หยุดก็จะทำให้บรรลุถึงมรรคญาณจะตัดกิเลส เสวยอารมณ์นิพพานเป็นอริยผล ความทุกข์ในขันธ์ห้าก็ดับไปด้วยการปล่อยวางภาระสละคืนอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕