หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธีรภัทร์ ชินอตฺตโน (วิลัยรัตน์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
ศึกษาหลักธรรมและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอทันตอคุตตสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธีรภัทร์ ชินอตฺตโน (วิลัยรัตน์) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาชิต ฐานชิโต
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

             สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ เพื่อศึกษาหลักธรรมในอทันตอคุตตสูตร และเพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอทันตอคุตตสูตร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทคือ พระไตรปิฎก อรรถกถา รวมทั้งข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาเรียบเรียงบรรยาย ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

 

             อทันตอคุตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายที่เมืองสาวัตถีเกี่ยวกับเรื่อง ผัสสายตนะ ๖ ประการ คือ ๑) ผัสสายตนะคือจักขุ ๒) ผัสสายตนะคือโสตะ ๓) ผัสสายตนะคือฆานะ ) ผัสสายตนะคือชิวหา ๕) ผัสสายตนะคือกาย ๖) ผัสสายตนะคือมโน เมื่อคู่อายตนะภายในและอายตนะภายนอก กระทบกันแล้วจะเกิดผัสสะเชื่อมต่อให้เกิดการรับรู้เฉพาะด้านของอายตนะเรียกว่า วิญญาณ คือความรู้แจ้งของอารมณ์ ผัสสะเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดแล้วรู้ได้ด้วยใจ ผัสสะที่เกิดแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกพอใจ (สุขเวทนา) ไม่พอใจ (ทุกขเวทนา) หรือความรู้สึกวางเฉย (อุเบกขาเวทนา) ขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่มากระทบทำให้จิตรับรู้วิบากและปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง

          วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอทันตอคุตตสูตร ผู้ปฏิบัติต้องฝึกควบคุมผัสสายตนะ ๖ โดยใช้สติสัมปชัญญะไปกำหนดให้รู้เท่าทันอารมณ์ที่กระทบในขณะปัจจุบันเพื่อให้เกิดการรู้เท่าทันสภาพความจริง ไม่ยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งซึ่งเป็นการรู้เหตุปัจจัย อยู่ในขั้น  ปัจจยปริคคหญาณ เมื่อมีสติกำหนดรู้อย่างต่อเนื่องจะมีความสามารถในการพิจารณารูปและนามชัดเจนขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรเทาใจจากกามคุณหรือเรือนทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และมีใจไปในทางเนกขัมมะ ส่วนผู้ที่ยังมีปปัญจสัญญา คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อยู่จะเป็นผู้ที่ยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ แต่ผู้ปฏิบัติที่อบรมมาดีย่อมเห็นสภาวะของรูปนามตลอดเวลา ซึ่งมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ย่อมละราคะ ละโทสะ ละตัณหา ประหารกิเลสได้ จนเกิดปัญญาญาณรู้แจ้งตามความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหลายและส่งผลให้บรรลุ มรรคญาณ ผลญาณ นิพพาน อันเป็นบรมสุขของพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕