หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการยงยงค์ยุธ เตชธมฺโม (สุขสำราญ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๑ ครั้ง
การศึกษาภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการยงยงค์ยุธ เตชธมฺโม (สุขสำราญ) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ธันวาคม 2560
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ทำให้เกิดภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดภาวะตื่นรู้ในสังคมไทยปัจจุบัน

ผลการศึกษาพบว่า ภาวะตื่นรู้เป็นภาวะของบุคคลที่มีความสมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ โดยรู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญาตามหลักอริยสัจ ๔ มีความสอดคล้องกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมุนฟรอยด์อิริคสันและพาฟลอฟ บนพื้นฐานแนวคิดร่วมกันว่า จิตนั้นสามารถพัฒนาได้และมีกระบวนการพัฒนาที่เป็นระบบขั้นตอน จิตที่พัฒนาดีแล้วจะส่งผลให้การทำงานด้านอื่นๆ พัฒนาไปด้วย หลักธรรมที่เกี่ยวกับภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนาได้แก่ มรรคและไตรสิกขาการพัฒนาตั้งอยู่บนหลักอินทรีย์ ๕ ได้แก่ ศรัทธาวิริยะสติสมาธิและปัญญา รวมทั้งการฝึกสติปัฏฐาน เพราะปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดภาวะตื่นรู้คือ สติและสัมปชัญญะ อันมีฐานเกิดสำคัญที่มาจาก กาย เวทนา จิตและธรรม

ภาวะตื่นรู้นั้นมีผลมีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม โดยแบ่งเป็นประโยชน์ออกเป็น     ๑) ส่วนปัจเจกบุคคล คือ สามารถพัฒนาร่างกายพฤติกรรม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยระงับความเจ็บป่วย ในด้านจิตใจ ทำให้มีความสงบเยือกเย็น มีความสุขไม่ฟุ้งซ่าน ผ่อนคลาย เกิดความสุขุมรอบคอบ และในด้านสติปัญญาทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และ ๒) ในด้านของประโยชน์ส่วนรวม พิจารณาที่การพัฒนาสู่สังคมแห่งการตื่นรู้ เท่าทันกิเลสและหลุดพ้นจากกระแสบริโภคนิยม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕