หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหามงคลศีล ปริยตฺติเมธี (พยัคฆ์พิทักษ์กุล)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
ศึกษาบทบาทผู้นำของพระเทพโกศล (สังวาลย์ พฺรหฺมวณฺโณ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหามงคลศีล ปริยตฺติเมธี (พยัคฆ์พิทักษ์กุล) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปริยัติยานุศาสน์
  พูนชัย ปันธิยะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มิถุนายน 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาบทบาทผูนําของพระเทพโกศล (สังวาลย์ พฺรหฺมวณฺโณ)” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทผูนําในคัมภีรพระพุทธศาสนา  ) เพื่อศึกษาบทบาทผูนําของพระเทพโกศล (สังวาลย์  พฺรหฺมวณฺโณ) และ) เพื่อศึกษาวิเคราะหบทบาทผูนําในภารกิจ ๖ ดาน ของพระเทพโกศล (สังวาลย์ พฺรหฺมวณฺโณ) ที่มีตอการพัฒนาสังคมและองคกรสงฆจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสรุปผลจากการศึกษา มีดังนี้

ผู้นำหรือผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ ชักนำให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ ชื่อว่า ผู้มีภาวะนำ พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงภาวะผู้นำไว้ว่าผู้นำต้องมีคุณสมบัติทั้งภายในและภายนอกคือ มีวิสัยทัศน์ ชำนาญงาน มีอัธยาศัยดี  และต้องรู้จักนำหลักธรรมไปบูรณาการได้อย่างเหมาะสม หลักธรรมเหล่านั้น ได้แก่ หลักอธิปไตย ๓ รู้ระบอบการ บริหารงานที่เหมาะสมแก่องค์กรและชุมชน, พรหมวิหาร ๔ รู้จักใช้พระเดชและพระคุณ, สังคหวัตถุ ๔ รู้จักหลักการผูกมิตรไมตรีต่อคนอื่นได้ดี, พละ ๕ รู้จักบริหารตนเองอย่างชาญฉลาดและมีความมั่นคงทางสติปัญญาและอารมณ์ ยังมีหลักธรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนความเป็นผู้นำ ได้แก่ ๑) สาราณิยธรรม ๖ รู้หลักการบริหารตนและบริหารงานไปพร้อมกัน ๒)หลักทิศ ๖ รู้หลักบทบาทและหน้าที่ทางสังคม ๓) หลักอปริหานิยธรรม ๗ รู้หลักบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงประโยชน์องค์กรต้องมาก่อน และ ๔) หลักสัปปุริสธรรม ๗ รู้หลักบริหารตนและองค์กรอย่างรู้เท่าทัน นอกจากนี้ พึงเว้นจากหลักธรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาวะผู้นำอีก ๓ หมวด คือ ๑) อกุศลมูล ๓ แนวคิดในใจที่ต่อต้านความดี  ) อัตตาธิปไตย การใช้เผด็จการเบ็ดเสร็จสำหรับบริหารจัดการ และ ๓) อคติ ๔ การวางตนไม่เหมาะสม

บทบาทภาวะผู้นำของพระเทพโกศล (สังวาลย์  พฺรหฺมวณฺโณ)  พบว่า ท่านใช้หลักธรรมภาวะผู้นำที่ดี กล่าวคือ การใช้หลักอธิปไตย ๓ และหลักพรหมวิหาร ๔ ในด้านการปกครอง การใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ในด้านการศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ และการสาธารณูปการ การใช้หลักพละ ๕ ในด้านการศึกษาและการเผยแผ่ นอกจากนั้น ยังได้ใช้หลักธรรมที่สนับสนุนภาวะผู้นำ คือ   สาราณิยธรรม ๖ ในด้านการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในองค์กร, การใช้หลักทิศ ๖ ในด้านการปกครอง การศึกษาและการเผยแผ่ ทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา, การใช้หลักอปริหานิยธรรม ๗ ในด้านการปกครองส่งผลให้การบริหารคนและงานของคณะสงฆ์มีความสะดวกราบรื่น, การใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ เป็นการบูรณาการความรู้ ศักยภาพ และความฉลาดในการบริหารอย่างมืออาชีพเพื่อประโยชน์ขององค์กร

 

  นอกจากนั้น ยังพบว่า พระเทพโกศล (สังวาลย์  พฺรหฺมวณฺโณ) มีภาวะผู้นำที่สามารถพัฒนาสังคมและองค์กรสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ได้ดี กล่าวคือ ท่านมีภาวะผู้นำที่ดี ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านวัตถุ ท่านสงเคราะห์แก่วัดต่าง ๆ ในเขตปกครอง ๒) ด้านจิตใจ ท่านปลูกฝังศีลธรรมและจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน และ ๓) ด้านสังคม ท่านประชุมปรึกษาหารือกับคณะสงฆ์และส่งเสริมกิจกรรมฝ่ายคฤหัสถ์อยู่เสมอ ทำให้ศาสนกิจสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี เป็นที่เคารพรักของผู้ใต้บังคับบัญชาและก่อให้ศรัทธาปสาทะแก่พุทธศาสนิกชน ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมภาวะผู้นำของท่าน คือ ท่านเป็นพระเถระที่มีภูมิรู้ภูมิธรรมและมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ด้วย

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕