หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบุญภพ อธิปญฺโญ (กุณาธรรม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
บทบาทพระธรรมมังคลาจารย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร หมู่ที่ ๒ บ้านลุ่มใต้ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : พระบุญภพ อธิปญฺโญ (กุณาธรรม) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูประวิตรวรานุยุต
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

การวิจัยเรื่อง “บทบาทพระธรรมมังคลาจารย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร หมู่ที่ ๒ บ้านลุ่มใต้  ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระธรรมมังคลาจารย์ ในการทำให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านลุ่มใต้ ๒) เพื่อศึกษาบทบาทของพระธรรมมังคลา-จารย์ ในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านลุ่มใต้ และ ๓) เพื่อศึกษาบทบาทของพระธรรมมังคลาจารย์ ในการบริหารจัดการ การศึกษาสงเคราะห์ การประสานงาน  ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านลุ่มใต้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research)  และการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative  Research) ผลการวิจับพบว่า

 

บทบาทของพระสงฆ์ มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งพุทธธรรมอันจะก่อให้เกิดประโยชนสุข ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเสมอมา พระสงฆ์ยังมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อสอนสัจธรรมของพระศาสดาให้แกชาวโลกไดเรียนรูและรับรูสูการปฏิบัติ นอกจากนี้พระสงฆ์ยังมีหน้าที่ในการศึกษา การเผยแผ่ และการสงเคราะห์ โดยมีหลายภาคส่วนเขามาร่วมดำเนินการก่อให้เกิดประโยชนแกประชาชนในชุมชนมากขึ้น

จากการสัมภาษณ์ พบวา พระธรรมมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ไดมีการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยมีผลความเห็นของประชาชนต่อบทบาทของพระธรรมมังคลาจาย์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง ๓ ด้านพบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด คือ พระธรรมมังคลาจารย์มีบทบาทในการสร้างและบูรณะซ่อมแซม ศาลาการเปรียญไม้สักทอง มณฑปพระธาตุ มีการจัดกิจกรรมได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ  ถัดมาคือด้านการทำให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด คือ พระธรรมมังคลาจารย์ มีบทบาทในการพัฒนาวัดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และสุดท้ายคือด้านการบริหารจัดการ การประสานงาน การศึกษาสงเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ พระธรรมมังคลาจารย์ มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสาร มีการวางแผนงานการดำเนินงานได้อย่างดี มีประสิทธิภาพและความรู้อันมีประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน

ปัญหาและอุปสรรคของบทบาทพระธรรมมังคลาจารย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ไดแก ในการจัดกิจกรรมต่างๆนั้น บางกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมมาก บางกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมน้อย พระสงฆ์มีเวลาจำกัดในการติดต่อ ประสานงาน เนื่องจากมีภารกิจของสงฆ์ที่ต้องดำเนินการจำนวนมาก รวมทั้งเวลาของพระสงฆ์และประชาชนไม่สอดคล้องกัน และควรให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อลดผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนจากกระแส   โลกาภิวัตน์

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕