หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจรัญ สุวโจ (สะทัน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการแสดงความกตัญญูกตเวทีของพระอานนท์เถระ
ชื่อผู้วิจัย : พระจรัญ สุวโจ (สะทัน) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ
  บุญเลิศ ราโชติ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์เรื่องวิเคราะห์รูปแบบการแสดงความกตัญญูกตเวทีของพระอานนท์ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความกตัญญูกตเวทีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงความกตัญญูกตเวทีของพระอานนท์ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์การแสดงความกตัญญูกตเวทีของพระอานนท์เพื่อนำไปปรับใช้ในสังคมไทยปัจจุบัน

             ผลการวิจัยพบว่า

             ๑) รูปแบบการแสดงความกตัญญู ของพระอานนท์ เริ่มจากรูปแบบเป็น พุทธอุปัฏฐากตามปกติ รูปแบบการจัดกิจกรรมที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันตระเตรียมภัตตาหาร สถานที่ฉัน ภาชนะที่ทรงใช้ มีเครื่องอุปโภคและบริโภค รูปแบบการตอบรับผู้ที่มาขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ตอบคำชักถามพุทธจริยวัตรผู้ที่มาเฝ้า ตอบปัญหาธรรมแก่พุทธศาสนิกชนผู้สงสัย และซักถามเพื่อความเข้าใจซึ้งถึงหลักธรรม รูปแบบเป็นภาระพาผู้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในโอกาสสมควร รูปแบบการประสานงานของพุทธศาสนิกชนที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ และรูปแบบสงเคราะห์พระประยูรญาติ

             ๒) ผลของการปฏิบัติตามความกตัญญู พบว่า พุทธกิจของพระองค์ทรงได้รับความสะดวกสบายในระดับหนึ่งเพราะความช่วยเหลือแบ่งเบาภารกิจของพระอานนท์ ผู้เข้ามาเฝ้าพระองค์ได้รับการปฏิสัณฐานตามความเหมาะสม ได้รู้พุทธจริยวัตรของพระองค์ ลักษณะเช่นนี้รู้ได้ตามที่พระอานนท์แจ้งให้ทราบ เมื่อมีปัญหาธรรมก็ได้เรียนถามพระอานนท์ให้เกิดความเข้าใจได้ถูกต้องตามที่พระอานนท์แสดง เมื่อมีโอกาสก็ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยการนำของพระอานนท์ พระอานนท์ได้รับภาระประสานงานของพุทธศาสนิกชน นิมนต์พระพุทธองค์ไปโปรด พระอานนท์สงเคราะห์

 

พระประยูรญาติโดยใช้วาทกรรมทูลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระนางมหาประชาบดีโคตมีบวชเป็นภิกษุณี และเป็นต้นเหตุให้สตรีมาบวชบรรพชิต ปฏิบัติวิเวกธรรมในพระพุทธศาสนา

          ๓) การนำรูปแบบการแสดงความกตัญญูกตเวทีของพระอานนท์ สามารถนำไปปรับใช้กับสังคมไทย เช่น นำไปปรับใช้ใช้กับสถาบันครอบครัว ที่มีต่อบุพพการีที่ล่วงลับไปแล้ว การเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้เป็นอุปการีชนเคยอุปการคุณ อบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรธิดามาด้วยกุศลจิต ดังนั้นบุตรธิดาจึงควร เคารพเชื่อฟัง  การนำรูปแบบกตัญญูกตเวทีไปปรับใช้ใช้กับสังคม มี การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้อื่น และสิ่งอื่นเพราะเป็นฐานค้ำจุนสังคม ในด้านศีลธรรม การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และการนำไปปรับใช้ต่อประเทศชาติ เช่น การแสดงความกตัญญูกตเวทีด้วยการรู้คุณของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕