หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูประโชติโพธิสาร (จนฺทโชโต)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีสงกรานต์ ของชุมชนตำบลสระแก้ว อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้วิจัย : พระครูประโชติโพธิสาร (จนฺทโชโต) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ
  สุวิน ทองปั้น
  พุทธชาติ คำสำโรง
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์    ๒) เพื่อศึกษาประเพณีสงกรานต์ของชุมชนตำบลสระแก้ว อำเภอเปลือยน้อย จังหวัดขอนแก่น และ ๓) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีสงกรานต์ที่มีต่อชุมชนตำบลสระแก้ว อำเภอเปลือยน้อย จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิชัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ ปลัดเทศบาล และประชาชน จำนวน ๑๕ รูป/คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยเชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี

              ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. ประวัติความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์เป็นตำนานที่เก่าแก่ที่เล่าขานสืบต่อกันมาช้านานได้กล่าวถึงในสมัยโบราณกาลตำนานของสงกรานต์มีคติความเชื่อเรื่องนางสงกรานต์ ๗ นางทรงเทพศัสตราและพาหนะต่างๆ ผลัดเวรกันเชิญพระเศียรก้าวกบิลพรหมออกแห่รอบพระสุเมรุภายหลังแต่งตำราใหม่สมมตินางสงกรานต์ตั้ง ๗ นาง เทียบกับวันทั้ง ๗ ในสัปดาห์ ปีไหนพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษเถลิงศกปีใหม่ตามสุริยคติกาลในวันชื่อใด ก็กำหนดนางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมติเข้ากับวันนั้นเป็นเวรเชิญพระเศียรเท้ากบิลพรหมในวันมหาสงกรานต์ขึ้นปีใหม่นั้น เนื่องจากประวัติสงกรานต์เป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน สงกรานต์ มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่เคลื่อนที่ คือ พระอาทิตย์ ย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึง วันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔.๑๕ เมษายน ความหมายคือ ในวันมหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้น หรือ ย่างขึ้นครึ่งใหญ่หมายถึงสงกรานต์ปี วันเนา แปลว่า วันอยู่คำว่า เนาแปลว่า อยู่หมายความว่า เป็นวันถัดจากมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศี และวันเถลิงศก แปลว่า วันขึ้นศกเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เลื่อนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
           

                          ๒. ประเพณีสงกรานต์ของชุมชนตำบลสระแก้ว อำเภอเปลือยน้อย จังหวัดขอนแก่นมีกิจกรรมที่มีมาแต่สมัยโบราณ เพื่อสร้างวัฒนธรรมและเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวันสงกรานต์ ซึ่งการทำบุญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในระหว่างวันที่ ๑๓,๑๔ และ ๑๕ เมษายน ซึ่งเป็นวันที่แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและเคารพนับถือ เป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่แบบไทย มีกิจกรรมวันสงกรานต์เป็นวันทำบุญครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชน โดยการทำบุญตักบาตรร่วมกัน เลี้ยงพระ สรงน้ำพระภิกษุ สรงน้ำผู้อาวุโสด้วยความศรัทธาและความกตัญญูกตเวที กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ขนทรายเข้าวัด (ก่อพระเจดีย์ทราย) รับศีล ปฏิบัติธรรม ล้วนแล้วเป็นกิจกรรมในวันสงกรานต์ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมยิ่ง  

              ๓. หลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีสงกรานต์ที่มีต่อชุมชนตำบลสระแก้วอำเภอเปลือยน้อย จังหวัดขอนแก่น มีหลักธรรมที่ชุมชนให้ความสำคัญกับประเพณีสงกรานต์เพื่อแสดงความเคารพนับถือ ซึ่งได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีสงกรานต์นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน นำมายึดถือและปฏิบัติ คือ หลักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลักความกตัญญูกตเวที   หลักความสามัคคีของชุมชน ความปรองดองสมานฉันท์ หลักสังคหวัตถุ ๔ เป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หลักสาราณียธรรม ๖ เป็นหลักแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข         ๖) หลักศีล ๕

และหลักภาวนา ๔ หลักธรรมเกี่ยวกับการภาวนาให้มีคุณสมบัติทางด้านกาย ทางศีล ทางจิต และทางสติปัญญา

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕