หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศรีเพ็ญ สิงห์แก้ว
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของ หน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : ศรีเพ็ญ สิงห์แก้ว ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปริยัติยานุศาสน์
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : พฤศจิกายน 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของบุตรในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์การนำหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากการศึกษาหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของบุตรในพระพุทธศาสนา พบว่า หลักพุทธธรรมสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการบุตรได้ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นปกติเหมาะสมตามวัย แล้วยังส่งผลให้บุตรมีความรักความเมตตา มีคุณธรรมจริยธรรม ต่อเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก แม้กระทั่งต่อสรรพสัตว์อีกด้วย ส่วนการนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตร จึงมีความสำคัญที่จะทำให้บุตรมีพัฒนาการ พฤติกรรม ไปในทางที่ดี ทั้งร่างกายและจิตใจ  บิดามารดาควรมุ่งเน้นให้บุตรเติบโตเป็นคนดีโดยไม่มุ่งเฉพาะแต่เป็นคนฉลาดเท่านั้น เพราะคนฉลาดแต่จิตใจชั่วร้าย เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น การปลูกฝังให้บุตรมีคุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต หลักพุทธธรรมที่นำมาปลูกฝังส่งเสริมพัฒนาการให้บุตร ให้เกิดการพัฒนาที่ดี ได้แก่ ไตรสิกขา ๓  พรหมวิหาร ๔  สังคหวัตถุ ๔  ฆราวาสธรรม ๔  เบญจศีล และทิศ ๖ 

จากการศึกษาบทบาทการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยสาธิตฯ ช่วยให้บุตรมีพัฒนาการ ๔ ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยได้วางแผน คัดกรอง กระตุ้นบุตรที่มีพัฒนาการปกติและล่าช้า โดยใช้คู่มือ DSI (Developmental Screening Inventory)  เพื่อให้บุตรมีพัฒนาการที่สมวัย เพื่อให้บุตรได้รับอาหารตามวัยอย่างเหมาะสม มีภาวะโภชนาการที่สมวัยและนำไปสู่พัฒนาการด้านต่างๆ ที่ดีด้วย เพื่อให้บุตรเจริญเติบโตอย่างมีความสุข ความอบอุ่นทั้งกายและใจ และเข้าใจเหตุและผล เพื่อปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับบุตร ฝึกบุตรรู้จักการให้ การชื่นชมกับการกระทำดีของผู้อื่น กระตุ้นพัฒนาการด้วยการไม่ปิดกั้นในสิ่งที่ถูกต้อง หาความรู้เพิ่มเติม โดยการอ่านหนังสือ ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บุตรทำกิจกรรมหลากหลายโดยสอดคล้องกับพัฒนาการทั้งสี่ด้าน อีกทั้งปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นรากฐานในการใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและมีความสุข ตลอดจนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

 

จากการวิเคราะห์การนำหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า มารดาบิดามีหน้าที่หลักในการอบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูบุตร จึงต้องมีคุณสมบัติ มีคุณความดีที่เพียบพร้อม ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ส่งเสริมให้บุตรมีความเจริญเติบโตอย่างมีความสุข และเป็นคนดี คนเก่ง มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี เพราะบิดามารดาเป็นทิศเบื้องหน้า ได้เลี้ยงดูบุตรตั้งแต่แรกเกิด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมบุตร หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการบุตรทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ได้แก่ ไตรสิกขา ๓ มีทัศนะคติความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ส่งเสริมให้บุตรคิดเป็นตามหลักของเหตุและผล สามารถคิดแก้ปัญหา ตัดสินใจอย่างถูกต้องด้วยปัญญาตามความเป็นจริง พรหมวิหาร ๔ ประกอบด้วย เมตตา มีความรักบุตรธิดา กรุณา มีความสงสารบุตรธิดา มุทิตา มีความชื่นชมและยินดีเมื่อบุตรธิดาประสบผลสำเร็จ และอุเบกขา คือคอยดูแลบุตรธิดาด้วยความสงบในจิตใจ สังคหวัตถุ ๔ ประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา ที่เกี่ยวข้องกับสังคมส่วนรวม เป็นไปเพื่อความถูกต้องไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ฆราวาสธรรม ๔  ปฏิบัติในการส่งเสริมดูแลอบรมสั่งสอนบุตร โดยการกระทำอย่างตรงไปตรงมาแสดงออกตามความเป็นจริง  ศีล ๕ สอนให้บุตรเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการกล่าวเท็จ และเว้นจากการดื่มน้ำเมา และ ทิศ ๖ สอนให้บุตรรู้บทบาทและหน้าที่ตนเองต่อสังคม จึงกล่าวได้ว่า พุทธธรรมเหล่านี้ส่งเสริมการพัฒนาการของบุตรอย่างเห็นได้ชัด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕