หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระศราวุธ ปญฺญาวุโธ (คำมั่น)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในเขตเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ชื่อผู้วิจัย : พระศราวุธ ปญฺญาวุโธ (คำมั่น) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโสภณพัฒนานุยุต
  บุญปั๋น แสนบ่อ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 9 มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง  จังหวัดแพร่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง  จังหวัดแพร่ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสาร และวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 15 รูป/คนที่เข้าร่วมโครงการผู้สูงอายุในเขตเทศบาล  ตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

 

ผลการศึกษาวิจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา         โดยยึดหลักภาวนา ๔  ใน  4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านร่างกาย พบว่า ทำให้เกิดการพัฒนาร่างกายด้วยรู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ รู้จักฝึกฝนอบรมตน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันมีความห่วงใยเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน รู้จักสำรวมระมัดระวังอินทรีย์ 6 คือ  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มีความพร้อมมีสติกำกับอยู่เสมอ และสามารถละเว้นจากความชั่วทั้งปวงได้ 2) ด้านสังคม พบว่าทำให้ละเว้น ระมัดระวังกายจากการเบียดเบียนผู้อื่นในทางที่เสื่อมเสีย มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่ร่วมกันด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน  และนอกจากนั้นยังเสริมสร้างการมีระเบียบวินัยต่อตนและสังคม 3) ด้านจิตใจ ทำให้จิตใจมีความหนักแน่นมั่นคง มีเหตุมีผลในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน         

                                                                                              

 

มีจิตเมตตา มีความปรารถนาดีต่อกันด้วยความจริงใจ และมีความสุข  4) ด้านปัญญา มีการฝึกปฏิบัติ   ตามแนวปัญญาภาวนาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสภาวะธรรมชาติอย่างแท้จริง มองโลกมองสังคม  ในแง่ดี มีจิตใจเป็นอิสระ รู้จักปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างด้วยสติปัญญา

 

สภาพและปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลวังหงส์ 1) ด้านร่างกาย พบว่า โรคประจำตัวบางโรคทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม  เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น 2) ด้านสังคม พบว่า       การรักษาศีล 5 เป็นสิ่งที่ยากและไม่มีเวลา มองไม่ค่อยเห็นคุณค่า ต้องเข้าวัดปฏิบัติเท่านั้น 3) ด้านจิตใจ พบว่า ขาดการให้การสนับสนุนจากคนในชุมชน ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจที่เข้ามานำฝึกปฏิบัติ และไม่มีเวลา ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา 4) ด้านปัญญา พบว่า ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดผู้นำทางในการฝึกปฏิบัติ ทำให้ไม่รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและโลกแห่งความเป็นจริง จะทำให้ความวิตกกังวล ไม่มั่นใจในการดำเนินวิถีชีวิต

 เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงตามแนวภาวนา 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลวังหงส์โดยภาพรวม พบว่า ผู้สูงอายุได้นำเอาหลักภานา 4 มาใช้หลักภาวนา 4 ด้านได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต  1) ด้านร่างกาย พบว่า ผู้สูงอายุได้สำรวมระวังตนเองในการแลสุขภาพตนทั้งร่างกายและจิตใจ รู้จักผ่อนคลายด้วยการฝึกฝนอบรมด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือนั่งสมาธิ ทำให้เกิดพลัง มีสุขภาพกายดี 2) ด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุได้ประพฤติปฏิบัติด้วยการรักษาศีล 5 ด้วยการเว้นจากการกระทำความชั่วและเว้นจากการสร้างความเดือดร้อนเบียดเบียนแก่ผู้อื่น และช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยความรักความเมตตา 3) ด้านจิตใจ พบว่า ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา เช่น เข้าวัด ให้ทาน รักษาศีล และพัฒนาปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจ ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางทำให้ใจมีความสุข 4) ด้านปัญญา พบว่า ผู้สูงอายุได้ ประพฤติปฏิบัติตามหลักปัญญาภาวนา ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน นั่งสมาธิ ฝึกจิตให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง ตามสภาวะที่เป็นอยู่ จนสามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่สังคมนี้อย่างมีความสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕