หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ประทีป ภูลา
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
ศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ ธ.ก.ส. บ้านผารังหมี หมู่ ๓ ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อผู้วิจัย : ประทีป ภูลา ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

               วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อคือ  (๑) เพื่อศึกษาหลักทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ที่ปรากฎในพระพุทธศาสนาเถรวาท  (๒) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะในทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักทิฎฐธัมมิกประโยชน์ของศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ ธ.ก.ส. บ้านผารังหมี หมู่ ๓ ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

 

               ผลการวิจัยพบว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์อันพึงได้รับจากการประกอบกิจการหรือมีอาชีพที่สุจริตถูกต้องทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม ผลประโยชน์ที่ได้จากการประกอบกิจนั้น เป็นผลที่ได้ทันตาเห็นไม่ต้องรอถึงภายภาคหน้า ผลประโยชน์ ที่ได้รับจากการประกอบกิจการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะได้มาซึ่งประโยชน์นั้น จะต้องแสวงหาอย่างมี หลักการและมีแผนการ ซึ่งหลักการและแผนการนี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใน ปัจจุบัน อันมีอยู่ ๔ ประการ คือ (๑) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น เลี้ยงชีพด้วยการหมั่น ประกอบการงาน (๒) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความ ขยันหมั่นเพียรโดยชอบธรรม (๓) กัลยาณมิตตตา คบคนดีไม่คบคนชั่ว (๔) สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์

 

 

          แนวทางการดำเนินชีวิตหลักทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ มีทั้งหมด ๔ ข้อคือ (๑) การนำหลักอุฏฐานสัมปทา มาใช้กับการแก้ปัญหาชีวิตการขาดความเพียร  เมื่อจะหลีกให้พ้นจากความเกียจคร้านนานาประการ ที่เป็นหนทางนำพาให้ชีวิตมีความเสื่อมลง หลีกเว้นการจากการงานอันเป็นทุจริต และหมั่นประกอบในสัมมาอาชีวะ  (๒) การนำหลักอารักขสัมปทา มาใช้กับการแก้ปัญหาชีวิต การไม่รู้จักรักษาทรัพย์ คือการใช้จ่ายเงินตามหลักธรรมะ  เป็นคนรู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพ การตั้งตนไว้อย่างเหมาะสม กับการรู้จักหาทรัพย์ และรู้จักรักษาทรัพย์นั้นที่ตนหามาได้โดยชอบธรรม  (๓) การนำหลักกัลยาณมิตตา มาใช้กับการแก้ปัญหาชีวิตการคบคน รู้จักเลือกเสวนาบุคคลผู้ทรงคุณทรงปัญญา มีความสามารถซึ่งจะช่วยสนับสนุน ให้ดำเนินก้าวหน้าไป ด้วยดี และ (๔) การนำหลักสมชีวิตามาใช้กับการแก้ปัญหาชีวิตการใช้จ่ายทรัพย์เกินฐาน  พยายามใช้จ่ายให้พอเหมาะกับรายได้ของเรา เพราะว่า ผู้ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายเกินฐานะของตัวเองจะต้องรู้จักประหยัดทรัพย์ พยายามใช้จ่ายแต่ในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้นจึงมีความสุขได้ตามสมควรแกอัตภาพของตัวเองและครอบครัว

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕