หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระประภาส ปญฺญาคโม (ดอกไม้)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
วิเคราะห์เบญจธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเชิงสุนทรียะ (ปรัชญา)
ชื่อผู้วิจัย : พระประภาส ปญฺญาคโม (ดอกไม้) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  สุวิน ทองปั้น
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงเชิงเอกสาร (Documentary Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เรื่องวิเคราะห์เบญจธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเชิงสุนทรียะ ๓ ประการคือ () เพื่อศึกษาความงามในเชิงสุนทรียะ () เพื่อศึกษาเบญจธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท () เพื่อศึกษาวิเคราะห์เบญจธรรมของพุทธปรัชญาเถรวาทในเชิงสุนทรียะ

ผลการวิจัยพบว่า สุนทรียะแบบตะวันตก มีความเชื่อพื้นฐานที่ขัดแย้งกันตามแต่ละทฤษฎี ซึ่งศีลธรรมนิยม และศิลปะนิยมล้วนให้เหตุผลแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และหลักทฤษฎีความงามเป็นหลักที่แสดงให้เห็นถึงกลุ่มต่างๆ ที่มองคุณค่าความงาม และตัดสินว่างามหรือไม่งาม ประสบการณ์สุนทรียะก็เป็นการตัดสินอีกอย่างหนึ่งในการมองความงามเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะในปรัชญาฝั่งตะวันตกหรือตะวันออก คุณค่าทางสุนทรียะ คือ คุณสมบัติของวัตถุที่ถูกสร้างสรรค์ และตกแต่งให้เกิดความงามไม่ได้เป็นสุนทรียะเพราะใครๆให้ การยอมรับว่าเป็นสุนทรียะ ความเป็นสุนทรียะ ไม่ได้มีเพราะการยอมรับว่าเป็นสุนทรียะ โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดหรือตัดสินให้เป็นหรือไม่เป็น แต่เป็นสุนทรียะเพราะวัตถุนั้นๆ มีคุณสมบัติแห่งความเป็นสุนทรียะแล้วอย่างแท้จริง

ความงามและคุณค่าที่เกิดขึ้นในเบญจธรรมนั้นเป็นสิ่งเริ่มต้นของการมีธรรม ทำให้เกิดมีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อผู้ใดทำให้มาก มีมาก ก็เกิดคุณค่ามากและเป็นธรรมที่ค่อนข้างยั่งยืน ดี มีประโยชน์ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นเป็นคุณค่าแท้หรือคุณค่าเทียม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ทำให้คนและสังคมมองว่าเป็นคนดี มีคุณค่าทั้งในการมองทางโลกและทางธรรม และกลายเป็นบุคคลสำคัญไปในที่สุด

จากการศึกษาวิเคราะห์เห็นได้ว่าผู้ที่จะก้าวขึ้นสู่อริยะบุคคลในชั้นต้นนั้นต้องมีบันไดในการไต่ขึ้นไปและเบญจธรรมก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้ในการปฏิบัติเพื่อขึ้นสู่จุดสูงสุด (นิพพาน) เพื่อการทำให้เต็มของความเป็นมนุษย์ ต่อจากนั้นก็นำข้อธรรมที่ละเอียดยิ่งกว่ามาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดสูงสุดได้ ความงามและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกล่าวได้ว่างามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดได้ คุณค่าที่เกิดขึ้นจึงเป็นคุณค่าแท้ที่มีแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียวนั่นเอง

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕