หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอนุพงศ์ สิทฺธิเมธี (ตันหยี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาการเมืองของโธมัส ฮอบส์ กับเทียนวรรณ (ปรัชญา)
ชื่อผู้วิจัย : พระอนุพงศ์ สิทฺธิเมธี (ตันหยี) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุนทรสังฆพินิต
  สยาม ราชวัตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาการเมืองของโธมัส ฮอบส์  กับเทียนวรรณ” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑)  เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาการเมือง  ๒)  เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาการเมืองของโธมัส ฮอบส์ และเทียนวรรณ และ ๓)  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดปรัชญาการเมืองของโธมัส ฮอบส์ และเทียนวรรณ ผลจากการศึกษาวิจัย มีดังนี้

 

     ปรัชญาการเมือง  คือ  ความรู้ที่มีคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสม ความดีงามของระเบียบทางการเมือง และความมีเสถียรภาพของสังคม รวมถึงการมีเป้าหมายว่าระบบการเมืองการปกครองแบบไหนดีที่สุดในประเด็นเรื่องเสรีภาพ  ความเสมอภาค ความยุติธรรม จุดมุ่งหมายของรัฐและสิทธิอันชอบธรรมอำนาจรัฐ

 

     ปรัชญาการเมืองของ ฮอบส์ เป็นแบบการนำเอาองค์อธิปัตย์เป็นประมุขทางการเมือง ศาสนา การเคลื่อนไหว และหลักการของความเฉื่อยที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ในส่วนปรัชญาการเมืองของเทียนวรรณ เป็นแบบการเอาแนวคิดของพราหมณ์และพุทธศาสนา โดยเน้นแนวทางพุทธศาสนาผสมผสานกับแนวคิดทางปรัชญาตะวันตก โดยแยกประเด็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ รัฐ กฎหมาย การปกครอง อุดมคติทางการเมือง และรูปแบบการปกครอง

จากการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดปรัชญาการเมืองของโธมัส ฮอบส์ และเทียนวรรณ พบว่า ในด้านธรรมชาติของมนุษย์ของ ฮอบส์ เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการการกระทำใดๆ จึงเป็นผลอันเกิดจากความต้องการ มนุษย์มีความต้องการตลอดเวลาโดยที่ความต้องการเป็นผลมาจากอำนาจหรือแรงผลักดันภายใน แต่ทางเทียนวรรณนั้นได้ให้ความหมายไว้ว่า ธรรมชาติมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกันมีหลายจำพวกและมนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ด้านเสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม ฮอบส์อธิบายว่ามนุษย์สามารถจะกระทำอะไรก็ได้นอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติห้ามไว้   แต่เทียนวรรณว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในตัวเองในการดำเนินชีวิต โดยไม่ขัดกับหลักศีลธรรม รัฐและอำนาจหน้าที่ของรัฐร่วมไปถึงกฎหมาย แนวความคิดของเทียนวรรณเสนอว่า รัฐต้องส่งเสริมให้การศึกษา และความปลอดภัยแก่ประชาชน ฮอบส์มองว่า มนุษย์โดยธรรมชาติจำต้องมีอำนาจเหนือเหตุผลเสมอ รูปแบบการปกครองของฮอบส์จะเป็นเป็นแบบสมัยใหม่จริงๆ เทียนวรรรณเป็นแบบการนำเอาแนวความคิดแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับแบบประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕