หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวัฒนพงษ์ ฐานิสฺสโร (เปงใจ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
แนวคิดด้านคุณค่าของเสนาสนะตามหลักพุทธจริยศาสตร์ (ปรัญชา)
ชื่อผู้วิจัย : พระวัฒนพงษ์ ฐานิสฺสโร (เปงใจ) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ
  วิโรจน์ วิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ เรื่อง “แนวคิดด้านคุณค่าของเสนาสนะตามหลักพุทธจริยศาสตร์” มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ  ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดในการสร้างเสนาสนะทางพระพุทธศาสนา  และ ๒) เพื่อศึกษาคุณค่าของเสนาสนะตามหลักพุทธจริยศาสตร์ว่ามีแนวคิดในการสร้างเสนาสนะทั้งวิธีการและ เป้าหมาย กระบวนการในการสร้างเป็นอย่างไรและเสนาสนะที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณค่าอย่างไร

ผลจากการวิจัยนี้พบว่า เสนาสนะ หมายถึง ที่นอนและที่นั่ง หรือ ที่สำหรับพักผ่อนเป็นส่วนตัว ที่สำหรับหลีกเร้นภาวนาและประกอบกิจอันเป็นส่วนรวมของพระภิกษุสงฆ์สามเณร เสนาสนะมี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ (คิริคูหา) ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และเสนาสนะที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ กุฎี วิหาร เรือนชั้น เรือนโล้น เรือนว่าง ปราสาท ซึ่งการสร้างเสนาสนะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันตามแต่เจตนาของผู้สร้าง เสนาสนะทั้งสองอย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกใช้เป็นเครื่องอาศัย ทั้งนี้แนวคิดในการสร้างเสนาสนะมีเป้าหมายตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ๒ ประการ คือ เพื่อตอบสนองการใช้ประโยชน์ของพระภิกษุสงฆ์และเพื่อตอบสนองการใช้ประโยชน์ของบุคคลในสังคม  เสนาสนะมีคุณค่าตามหลักพุทธจริยศาสตร์ ๒ ประการ คือ คุณค่าหลักกับคุณค่ารอง โดยคุณค่าหลักสามารถแบ่งตามความเหมาะสมได้ ๒ นัย คือ ๑) คุณค่าของเสนาสนะในมิติทางศาสนา อันเป็นคุณค่าตามวัตถุประสงค์ของการสร้าง ที่ได้วางเอาไว้ตามหลักการทางพระธรรมวินัย และ ๒) คุณค่าของเสนาสนะในมิติอื่นๆ คือ เสนาสนะสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองการใช้ประโยชน์ของสังคมเป็นหลัก  สำหรับคุณค่ารอง คือ ผลพลอยได้จากคุณค่าหลัก อันไม่ได้มาจากวัตถุประสงค์ในการสร้างเสนาสนะ เช่น วิหารลายคำ อุโบสถเงิน สร้างเพื่อประโยชน์ทางศาสนา แต่ด้วยฝีมืออันวิจิตรทำให้ผู้คนเดินทางมาเที่ยวชม ซึ่งบางกรณี คุณค่ารองอาจมีความโดดเด่นมากกว่าคุณค่าหลัก เป็นต้น

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕