หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระฐาปกรณ์ รตนโชโต(สุปัญญารัตน์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
บทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระฐาปกรณ์ รตนโชโต(สุปัญญารัตน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ () เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์และ ()เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Methodology Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตําบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๓๘๔ คน ซึ่งใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๘ คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ด้วยวิธี ผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)               ผลการวิจัยพบว่า                                                                                      ๑) บทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ๓.๒๖ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับบทบาทอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

 

          ๒) ผลการเปรียบเทียบ บทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ต่อเดือนมีความคิดเห็นต่อบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วน เพศ และ ระดับการศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

๓) ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมบทบาทขององค์การบริหารส่วนตําบลกับการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ได้แก่ ๑) ด้านการสร้างจิตสำนึกองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องจัดอบรมเรื่อง การปลูกจิตสำนึก ในชุมชนดูแลการหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ต้องติดป้ายเขตป่าที่อนุรักษ์ให้ชัดเจน และมีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและควรประชาสัมพันธ์ รณรงค์ การสร้างจิตสำนึก โดยการให้การศึกษา เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม๒) ด้านการส่งเสริมการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลควรเน้นให้การศึกษาให้ความรู้เรื่องของป่าไม้ และแม่น้ำคูคลองในชุมชนการจัดให้มีถังขยะ ให้การทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง เพื่อความสะอาดภายในชุมชนและควรจัดกิจกรรมเพื่อให้ภายในชุมชน ที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และสร้างเขตพื้นที่การอนุรักษ์ป่าไม้ แม่น้ำในชุมชน๓) ด้านการส่งเสริมการบำบัดฟื้นฟูส่งเสริมการจัดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ภายในชุมชน ช่วยกันสอดส่องดู ภายในชุมชนควรส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทดแทน ในวันสำคัญ เช่น วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติและควรจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ชุมชนปลูกต้นไม้ทดแทน ที่ถูกทำลายไปและ๔) ด้านการส่งเสริมงานเฝ้าระวังและป้องกันควรจัดเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการในชุมชนสอดส่องดูแลป่าไม้ ในชุมชนควรให้ความสำคัญในเรื่องไฟป่า การจุดไฟ ในพื้นที่ป่าไม้ เน้นการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ และการป้องกัน เมื่อมีไฟป่ามาและ ควรจัดงบประมาณในการอบรม เจ้าหน้าที่ คนในชุมชน ในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับป่าในชุมชน เช่น ไฟป่า การทำลายป่า

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕