หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อาทร แก้วยวน
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
การบริหารงานวิชาการตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารใน โรงเรียนอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้วิจัย : อาทร แก้วยวน ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดโฆษิต โฆสิโต
  ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่
  -
วันสำเร็จการศึกษา : (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

 

         การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหารธรรมในโรงเรียน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารในโรงเรียน        อำเภอหัวไทร  จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะจากการนำหลักพรหมวิหารธรรมไปใช้ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน  อำเภอหัวไทร  จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2558 จำนวน 130 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบรายคู้ โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

 

         ผลการวิจัยพบว่า

    1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร และครู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด          กับด้าน การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนการเรียน รองลงมา คือ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการบริหารหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ตามลำดับ

 

             2) ผลการเปรียบเทียบการศึกษาหลักพรหมวิหารธรรม ที่มีผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

 

             3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านที่มีการเสนอแนะมากที่สุดคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยเฉพาะในประเด็นควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร รองลงมาได้แก่ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ในประเด็นควรจัดครูให้ครบชั้นเรียน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕