หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาศรวุฒิ สิริวณฺโณ (จิตร์จำนงค์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
การบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาศรวุฒิ สิริวณฺโณ (จิตร์จำนงค์) ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อินถา ศิริวรรณ
  สมชัย ศรีนอก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการคือ ๑)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี )เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของภิกษุและสามเณรเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล  ๓)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถาม,สัมภาษณ์ เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative  Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากภิกษุและสามเณรที่เป็นผู้บริหาร ครูสอนและนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน ๙๔ รูป โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิดและปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบ ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) หากยังไม่พบความแตกต่างจะใช้วิธีหาค่าความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีแสดงผลต่างนัยที่สำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) เป็นลำดับไปและการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ (Interview)

 

             ผลการวิจัยพบว่า

 

             ๑. ภิกษุและสามเณรมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้ง ๕ ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าภิกษุและสามเณรมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานีในด้านหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอนและด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านการวัดผลและประเมินผลอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๒ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสื่อการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๐๖

 

             ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของภิกษุและสามเณรที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างตัวแปรได้แก่ สถานะ ตำแหน่ง/หน้าที่ อายุ พรรษา/ปีที่บรรพชา วุฒิการศึกษาทางโลกและวุฒิเปรียญธรรม พบว่าความแตกต่างของ ตำแหน่ง/หน้าที่      วุฒิการศึกษาทางโลก และด้านวุฒิเปรียญธรรมของภิกษุและสามเณรผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีผลทำให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนสถานภาพส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในด้านอายุ และพรรษา/ปีที่บรรพชา ของภิกษุและสามเณรผู้ตอบแบบสอบถามมีผลทำให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

             ๓. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ ๑)ด้านหลักสูตร หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลีควรไดรับการปรับปรุงโดยเฉพาะด้านเนื้อหา ๒)ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรให้ความสำคัญกับนักเรียนและครูสอนอย่างเต็มที่ ควรมีการปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจ ดึงดูดให้ผู้เรียนมีอารมณ์ร่วมในการเรียนมากขึ้น มีการสนับสนุนด้านงบประมาณที่เพียงพอและควรมีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการสอนให้แก่ครูสอน ๓)ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรจัดซื้อ จัดหา สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยอย่างเพียงพอ สนับสนุนให้ผู้มีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อการสอนของวิชาแผนกนี้มีมากขึ้น มีการจัดอบรมครูสอนให้มีความรู้ความเข้าใจในการนำสื่อการเรียนการสอนมาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่และมีการจัดสรรงบประมาณในด้านสื่อการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ ๔)ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียน มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออกอย่างเต็มที่และมีกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสำนักเรียนกับชุมชนให้มากขึ้น ๕)ด้านการวัดผลและประเมินผล การวัดผลและประเมินผลของสนามหลวงควรมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕