หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดพิพัฒน์พงษ์ ภทฺทวํโส (ศักดิ์นิติจารุชัย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๔ (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดพิพัฒน์พงษ์ ภทฺทวํโส (ศักดิ์นิติจารุชัย) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ /มีนาคม/ ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่อง “การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔” โดยมีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๔ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๔ โดยแยกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๔   ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔ จำนวน ๒๒๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (questionnaire) และแบบสัมภาษณ์ (interview) โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) เท่ากับ ๐.๙๘๘

ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ที่มีต่อการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคคล

             ๒. ผู้บริหาร ครู ที่มีสถานภาพส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔ โดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

             ๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔ พบว่า จากการวิจัยพบปัญหาและอุปสรรค์ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔ ดังต่อไปนี้ ๑) งบประมาณสนับสนุนในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔ ไม่เพียงพอ ทำให้งานออกมาไม่มีประสิทธิภาพ ๒) ครูขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ไม่มีหลักประกันความมั่นคงด้านอาชีพและสวัสดิการที่เป็นธรรม ๓)  มีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายบุคลากรบ่อย ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการทำงาน และไม่มีการบรรจุแต่งตั้งที่ชัดเจน ๔) จำนวนนักเรียนที่ลดลงในแต่ละปี  เพราะเมื่อจำนวนนักเรียนลดลง เงินอุดหนุนที่ได้รับในการบริหารจัดการก็ลดตามไปด้วย ๕) การฝึกอบรมและพัฒนาครู ให้มีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนยังมีน้อย และไม่มีการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดอย่างจริงจัง  ๖) การจัดทำสรุปรายงานประจำปี และการปฏิบัติงานในโครงการต่าง ๆ ยังไม่เป็นรูปธรรม และชัดเจน ๗) การนิเทศติดตามของหน่วยงานต้นสังกัด ยังไม่ครอบคลุมในแต่ละโรงเรียน ๘) ไม่มีระเบียบที่ชัดเจน และไม่มีกฎหมายที่บังคับใช้ทำให้ควบคุมการบริหารยาก ๙) โรงเรียนไม่มีความรู้เรื่องการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา เพราะมีครูย้ายออกบ่อย จึงทำให้ขาดความต่อเนื่องในงานประกันคุณภาพการศึกษา ๑๐) สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ยังไม่มีประสิทธิภาพ และไม่ครอบคลุมทุกโรงเรียน

             ๔. แนวทางในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔ จากการวิจัยพบว่า ๑) ควรผลักดันให้มีพระราชบัญญัติโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๒) ควรมีระเบียบบังคับใช้และบรรจุให้ได้รับเงินเดือนวุฒิการศึกษาตามพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗ ๓) ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างความตระหนักเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรทุกคนในโรงเรียน มีการจัดอบรมให้ความรู้ และศึกษาดูงานประกันคุณภาพโรงเรียนอื่น ๆ ๔) หน่วยงานต้นสังกัดควรแยกเงินเดือนครูออกจากค่าหัวนักเรียน และควรจัดสรรงบประมาณโดยแยกประเภทของงบประมาณที่จะใช้จ่ายในส่วนต่างๆ เพื่อให้แต่ละโรงเรียนมีความสะดวกในการใช้จ่ายงบประมาณ ๕) ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้สอนเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา มีการส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระต่าง ๆ ๖) ทางหน่วยงานต้นสังกัดต้องมานิเทศสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องเพราะจะได้ทราบปัญหานำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป ๗) ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดอบรมครู และพัฒนาครูในด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ๘) ควรมีการจัดทำสรุปรายงานประจำปี และรายงานผลการปฏิบัติโครงการต่าง ๆ เพื่อจัดเข้างานประกันคุณภาพการศึกษา ๙) ผู้บริหารโรงเรียนควรเพิ่มประสิทธิภาพในด้านนวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ๑๐) โรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์ในทุก ๆ ด้าน เพื่อเพิ่มประชากรนักเรียนให้มากขึ้น และมีการสนับสนุนการศึกษาอย่างครบถ้วน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕