หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สิริพงศ์ ปราบงูเหลือม
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
การบริหารวิชาการโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐ จังหวัดสมุทรสาคร (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สิริพงศ์ ปราบงูเหลือม ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อินถา ศิริวรรณ
  วิชชุดา หุ่นวิไล
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารวิชาการโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐ จังหวัดสมุทรสาคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารวิชาการโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐ จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารวิชาการโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐ จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนและนักเรียน จำนวน ๒๙๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่า IOC ที่ ๐.๖๐-๑.๐๐ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๕๖ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) และค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า

              ๑. ผลการวิเคราะห์การบริหารวิชาการโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐ จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๔ เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงจากมากไปหาน้อย การวัด ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน การนิเทศการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับน้อยที่สุด ได้แก่ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ

              ๒. ผลการเปรียบเทียบการบริหารวิชาการโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐ จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ระดับการศึกษา สถานะ ของครูผู้สอนและนักเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนอายุของครูผู้สอนและนักเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะพบว่า ๑) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรแกนกลางในปัจจุบันมีเนื้อหามากเกินไปในด้านจัดสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระและสัดส่วนมาตรฐานและตัวชี้วัดไม่ชัดเจน ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจปัจจุบันและอนาคต ๒) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ขาดทักษะกระบวนการเรียนรู้   จากสถานการณ์จริง ข้อเสนอแนะ ควรใช้สถานการณ์จริงในการจัดการเรียนการสอน ๓) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ครูผู้สอนไม่ค่อยได้ใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะ ครูผู้สอนควรมีการนำสื่อมาจัดการเรียนการสอนบ้าง เพื่อที่จะทำให้นักเรียนได้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ ๔) การนิเทศการศึกษา ไม่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนิเทศการศึกษา ข้อเสนอแนะ ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนิเทศการศึกษา ๕) การวัด ประเมินผล และเทียบโอนการศึกษา พบว่า การวัดผลยังไม่ครอบคลุมสมรรถนะของผู้เรียนทุกด้าน ข้อเสนอแนะ ควรวัดผลตามสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ดาวน์โหล

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕