หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชนากานต์ สิงห์เรือง
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
การบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ชนากานต์ สิงห์เรือง ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  อานนท์ เหล็กดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) สภาพการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นอย่างไร ๒) ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัย สถานภาพส่วนบุคคลมีความแตกต่างหรือไม่อย่างไร ๓) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ควรเป็นอย่างไร โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงพรรณนา ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจในเบื้องต้นประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ นิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์จำนวน ๒๒๖ คน  ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน ( Krejcie and Morgan) ใช้วิธีเลือกตัวอย่างการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน ๗ รูป/คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

๑.สภาพการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ มี ๔ ด้าน คือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านบริการ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านบุคลากรโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านบุคลากร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ โดยภาพรวม         ไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่านิสิตที่มีสถานภาพ อายุ สาขาวิชาที่ศึกษาและชั้นปีที่ศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

๓. แนวทางในการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ควรจัดหาทรัพยากรที่มีคุณภาพ และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ควรนำมาวิเคราะห์ตามระบบสากลของห้องสมุดเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ ควรจัดทำคู่มือขั้นตอนการใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ควรจัดทำป้ายแสดงหมวดหมู่หนังสือภายในชั้นควรจัดบรรยากาศในห้องสมุดให้น่าเข้ามาใช้เหมาะเป็นแหล่งเรียนรู้ค้นคว้าของผู้ใช้บริการผู้ให้บริการควรพูดจาดีมีประโยชน์ คำนึงถึงประโยชน์ของบุคคลที่มารับบริการและเป็นคนที่เสมอต้นเสมอปลาย สามารถควบวามอารมณ์ของตนเองได้เป็นอย่างดี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕