หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการภัคพล ฐานกโร
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการภัคพล ฐานกโร ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผสมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๓๕๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD.) วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

๑) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( =๓.๗๔) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =๓.๘๓) ด้านการเป็นแบบอย่างในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =๓.๘๐) และด้านการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =๓.๖๐)  

๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน  และระดับการศึกษา พบว่าประชาชนที่มี เพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี รายได้และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ๑) ด้านการให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขาดพระสงฆ์ที่สามารถเข้ามาอบรบคุณธรรม-จริยธรรมให้แก่ประชาชนดังนั้นคณะสงฆ์ควรมีการจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ประชาชนเพื่อให้เข้าใจและรู้จักแก่นแท้ของศาสนาเพื่อนำไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต ๒) ด้านการเป็นแบบอย่างในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พระสงฆ์บางรูปประพฤติปฏิบัติตนไม่อยู่ในสมณสารูป ทำให้ประชาชนที่พบเจอไม่เลื่อมใสในศาสนา พระสงฆ์จึงควรเป็นแบบอย่างในการพัฒนาการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามครรลองเพื่อให้ประชาชนได้ปฏิบัติตาม ที่สำคัญจะต้องยกย่องเชิดชูบุคคลที่ทำความดีอย่างสม่ำเสมอให้สังคมได้รับรู้และเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนและ ๓) ด้านการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่ค่อยมีการสนับสนุนในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิตเท่าที่ควร คณะสงฆ์และหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะภาครัฐควรมีการส่งเสริมแบบรูปธรรมทำให้เกิดกิจกรรมในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยให้วัดเป็นแกนหลักในการพัฒนา

๔) บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถสรุปได้ดังนี้ พระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้ทรงศีลและนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติควรสำรวมกาย วาจา และใจ ให้อยู่ในครรลองคลองธรรม ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในสมณสารูป ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่พบเจอเลื่อมใสในศาสนา นอกจากนั้นคณะสงฆ์ควรสนับสนุนให้พระสงฆ์เป็นหลักในการทำกิจกรรมที่สามารถนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕