หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อภิชิต อนันตประยูร
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
การประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อจัดการความขัดแย้ง ของชุมชนรอบสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี(สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : อภิชิต อนันตประยูร ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

       วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดว่าด้วยการจัดการความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรมในพระพุทธศาสนา ๒. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและวิกฤติความขัดแย้งของชุมชนรอบสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี ๓. เพื่อประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อการจัดการความขัดแย้งของชุมชนรอบสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี  การดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview)   การสังเกตการณ์และเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเอง 

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า ความขัดแย้งเป็นภาวะบีบคั้นหรือไม่ลงรอยกัน ซึ่งมีสาเหตุความขัดแย้งกันทั้งในด้านข้อมูล  ผลประโยชน์  ความสัมพันธ์  โครงสร้าง  และคุณค่าหรือค่านิยม  แต่ในพระพุทธศาสนามองว่าสาเหตุความขัดแย้งมากจากตัณหา  มานะ และทิฏฐิ  แนวทางแก้ไขความขัดแย้งตามหลักวิชาการที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมปัจจุบัน  คือ การผ่อนปรนเข้าหากัน การสมานสามัคคีก่อเกิดความร่วมมือ  ความเห็นพ้องต้องกัน ซึ่งก็มีลักษณะที่สอดคล้องกับหลักสาราณียธรรม คือ  เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม  สาธารณโภคี ศีลสามัญญตา  และ ทิฏฐิสามัญญตา     

 

 

 

 

 สภาพปัญหาความขัดแย้งของชุมชนรอบสวนสัตว์เปิดเขาเขียวพบว่า ความขัดแย้งหลักของชุมชน คือ เรื่องแนวเขตที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  นโยบายหรือข้อบังคับจากหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ  เกิดปัญหาขาดสาธารณูปโภคระดับพื้นฐานและได้รับสิทธิบางอย่างไม่เท่าเทียมกัน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ข้อมูลข่าวสาร และตลอดถึงความรู้สึกเกรงกลัวต่อภาครัฐ   

ผลจากการประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อการจัดการความขัดแย้งของชุมชน พบว่า  ชุมชนต่างมองเห็นคุณค่าและความจำเป็น โดยทุกฝ่ายได้ร่วมกันเสนอแนวทางปฏิบัติ เช่น            การไม่ประทุษร้ายกัน  สื่อสารข้อมูลกันให้มาก รับฟังข้อเรียกร้อง  ให้โอกาสภาคประชาชน  ช่วยเหลือแบ่งปัน จัดสรรสวัสดิการ  การเอื้อเฟื้อ การโอนอ่อนผ่อนตามเพื่อมนุษยธรรม และ      ร่วมกันตกลงกติกาในชุมชนทุกภาคส่วน   เมื่อดำเนินการตามหลักสาราณียธรรมเช่นนี้ ย่อมเป็นช่องทาง       ที่จะนำสันติสุขมาสู่สังคมอย่างแน่นอน

 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕