หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ทัศนี ช้อยกิตติพันธ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อการเสริมสร้าง สันติภาพและสันติสุขในสังคมไทย(สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ทัศนี ช้อยกิตติพันธ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  พระมหาดวงเด่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสันติภาพและสันติสุขในพระพุทธศาสนา  (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการสร้างสันติภาพและสันติสุขตามทัศนะของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  (๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อการเสริมสร้างสันติภาพและสันติสุขในสังคมไทย  การดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยคุณภาพเชิงภาพ (Qualitative Research)แบบภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๘ รูป/ คน ผลการศึกษาพบว่า

             ๑) แนวคิดเรื่องสันติภาพและสันติสุขในพระพุทธศาสนา พบว่า เป็นมีคำที่มีความหมายเนื่องกันอยู่กับคำว่า สุข สงบ เย็น ประณีต เป็นเรื่องของจิตใจ และมีความหมายในลักษณะเดียวกับพระนิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาเพื่อเข้าถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ และสังคมจะเกิดสันติภาพได้นั้นต้องอาศัยการเกิดสันติสุขในจิตใจของคนในสังคมที่สามารถเข้าถึงความสงบเย็นและความสุขภายในได้โดยไม่ต้องอาศัยอิงแอบกับความสุขภายนอก

             ๒) พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) มีอุดมการณ์ชีวิตสูงสุดตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ มีใจที่เข้าถึงภาวะที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความสุขนี้ไปสู่มวลมนุษยชาติตลอดลมหายใจที่มีอยู่ ท่านได้วางหลักปณิธาน ๓ เพื่อเป็นกรอบในการให้สาธุชนเจริญรอยตาม กล่าวคือ ๑) ให้เข้าใจแก่นแท้และปฏิบัติตนเพื่อเข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน (๒) ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา  และ (๓) ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกเสียจากวัตถุนิยม ทั้ง ๓ หลักการนี้ ท่านใช้วิธีการเผยแผ่ผ่านการปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง การเทศน์สั่งสอนด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายลัดตรง การเขียนหนังสือธรรมที่แตกฉาน การอบรมค่ายพุทธบุตร และ การสร้างวัดสันติสุขต้นแบบ

             ๓) บทบาทของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ต่อสังคมไทย พบว่า ท่านเป็นผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสันติสุขให้กับเพื่อนมนุษย์ผู้รักความสงบ ปรารถนาความตื่นรู้ และอยากเห็นสันติภาพให้เกิดขึ้นในสังคม บทบาทของท่านที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างสังคมให้เกิดสันติภาพและสันติสุข ได้แก่ (๑) บทบาทของนักค้นคว้า/เรียนรู้จากการปฏิบัติ  (๒) บทบาทในการสร้างเมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพ (๓) บทบาทของวิศวกรสันติภาพในการสร้างสรรค์วัดสันติสุข  (๔) บทบาทของกวี/ทูตแห่งสันติสุข  (๕) บทบาทในการสร้างสังคมชาวพุทธ รู้ ตื่นเบิกบาน  และ (๖) บทบาทวิศวกรสันติภาพผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับสังคม ทั้งหมดนี้ผู้วิจัยได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาพระสงฆ์ให้เป็นรากฐานสำคัญของสังคมในการรักษาความสุขสงบเย็น ภายใต้อุดมการณ์และวิธีการที่เรียกว่า MCU PEACE  โดย M = Model of good conduct หมายถึง พระสงฆ์ต้องทำตนเป็นต้นแบบบุคคลที่มีสันติ  , C = Co-operation  หมายถึง พระสงฆ์สามารถประสานสร้างสะพานสันติภาพ และU = U & Me หมายถึง พระสงฆ์พึงสั่งสอนให้ชาวพุทธให้มีความเห็นที่ถูกและมองโลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน  ด้วยการทำให้ตนมีสันติสุข (P = Peace of mind)  ชวนคนให้เรียนรู้สันติสุขในใจ (E = Education) เพียรสร้างสันติภาพผ่านทุกกิจกรรมของชีวิต (A = Activity) รู้ทันระงับจิตให้สงบเย็น (C = Conductive)และประสานทุกสรรพสิ่งด้วยความรัก (E = Environment)

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕