หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระกองสี ญาณธโร (พรมโพธิ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา ๔ ในพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระกองสี ญาณธโร (พรมโพธิ์) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์
  พระครูสิริสุตาภรณ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ คือ (๑)  เพื่อศึกษาชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาหลักภาวนา ๔ (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา ๔ ในพระพุทธศาสนา

                    ผลจากการวิจัยพบว่า การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา ๔ ในพระพุทธศาสนา    พบว่า  การดำเนินชีวิตในขั้นของ (๑) กายภาวนา  คือ การพัฒนาอินทรีย์ ที่ต้องติดต่อกับสิ่งภายนอกอย่างชานฉลาด ไม่เป็นทุกข์เพราะการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น (๒) ศีลภาวนา คือกระบวนการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างฉานฉลาดและรู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก และสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม(๓) จิตภาวนา  ก็คือการมีจิตใจที่พัฒนาให้เข้มแข็ง ไม่ขุ่นมัว มีคุณธรรม มีปัญญาที่ได้จากการฝึกจิตภาวนา ได้แก่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา มีศรัทธา และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, การมีความพร้อมในการทำงาน ได้แก่ ขันติคือมีความอดทน สมาธิคือความมีใจตั้งมั่น อธิษฐานคือมีความเด็ดเดี่ยว วิริยะคือมีความเพียร สติคือมีความระลึกรู้เท่าทันสิ่งรอบข้างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ (๔) ปัญญาภาวนา ได้แก่การรับรู้และเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง   รู้เท่าทันสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลกและชีวิต

                   วิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา ๔ ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นกรอบเป็นกระบวนการให้ผู้ที่ปฏิบัติ ดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายของชีวิตตน คือ ทำให้ถึงประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ คือ (๑) ประโยชน์ในปัจจุบันด้วยตน เป็นขั้นที่มองเห็นได้เฉพาะหน้า โดยมีหลักธรรม ๔ (๑) อุฏฐานสัมปทา (๒) อารักขสัมปทา (๓) กัลยาณมิตตตา (๔) สมชีวิตา  (๒) ประโยชน์ในชาติหน้า เป็นขั้นที่เลยจากตามองเห็น โดยมีหลักธรรม ๔ ประการ (๑) ศรัทธาสัมปทา (๒) ศีลสัมปทา  (๓) จาคสัมปทา (๔) ปัญญาสัมปทา (๓) และประโยชน์อย่างยิ่ง คือขั้นที่หลุดพ้นเป็นอิสระจากความทุกข์ทั้งมวล

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕