หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นภาพร วรสายัณห์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
วิเคราะห์การอุ้มบุญในทัศนะของพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : นภาพร วรสายัณห์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  สมภาร พรมทา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ 

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑)  เพื่อศึกษาขั้นตอนของกระบวนการอุ้มบุญ (๒)  เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้วิเคราะห์การอุ้มบุญ (๓)   เพื่อศึกษาวิเคราะห์การอุ้มบุญในทัศนะของพระพุทธศาสนา ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาขั้นตอนของกระบวนการอุ้มบุญและหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ในมิติของพระพุทธศาสนา มองว่า การให้กำเนิดมนุษย์ควรเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรใช้เทคโนโลยีเพื่อให้กำเนิดมนุษย์เกินขอบเขตไปในทางสนองตอบกิเลสของตัวเอง เพราะเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องหลายประการเช่น การทำลายตัวอ่อน ที่อาจไม่ถึงขั้นผิดศีลข้อ ๑ การฆ่าเนื่องจากผู้กระทำไม่รู้ว่าตัวอ่อนมนุษย์อายุ ๕-๗ วันนั้น อาจเป็นสิ่งมีชีวิต แต่ก็ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ตามลำดับขึ้นอยู่กับการกระทำ แต่ทางพระพุทธศาสนาก็ไม่ถึงกับว่า ไม่ให้ทำเลย เพราะหากมีความจำเป็นด้านการประคับประคองครอบครัวให้อยู่ได้ ก็เห็นว่าน่าจะให้ทำได้ ภายในกรอบของศีลธรรม ไม่ละเมิดหลักธรรมใดๆ อีกทั้งในความเป็นจริงก็คือ การกระทำสิ่งใดไม่เฉพาะแต่การอุ้มบุญนั้น ที่เป็นปัญหาและผลกระทบต่อสังคมก็มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติตามกิเลสของมนุษย์ที่ละเมิดศีลธรรมเอง ไม่ใช่เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์หรืออุ้มบุญที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหา

๒. ในมิติทางการแพทย์ มองว่าอุ้มบุญเป็นเรื่องที่ทางการแพทย์ทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาตั้งครรภ์เองไม่ได้ให้มีบุตรได้สมความปรารถนา เป็นเรื่องที่ดีหากเป็นอุ้มบุญที่มีเหตุมาจากเรื่องสุขภาพ และมองว่าผลกระทบต่อสังคมมีน้อยมาก เพราะพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการเลี้ยงดูเมื่อคลอดแล้วเป็นส่วนใหญ่

๓. ในมิติทางกฎหมาย เห็นสอดคล้องกับมิติทางการแพทย์ว่า หากเป็นอุ้มบุญภายในกรอบของกฎหมายโดยไม่มีการละเมิด ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์ ส่วนการกระทำผิดนั้น เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ละเมิดกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องการอุ้มบุญ

สรุปว่า อุ้มบุญในทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น ไม่สนับสนุนการอุ้มบุญแต่ก็ไม่ถึงกับปฏิเสธหากอุ้มบุญจะมีส่วนช่วยให้ครอบครัวสงบสุขและดำเนินต่อไปได้แต่ต้องทำในกรอบของศีลธรรม

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕