หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » แพรวพรรณ เจริญวัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
การส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาล ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : แพรวพรรณ เจริญวัย ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นิกร ยาอินตา
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Reseach) ระหว่างการทำวิจัยปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชากรที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป เป็นการศึกษาในการศึกษา โดยเลือกประชากรที่อยู่ในเขตเทศบาลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๓๗๗ คน จากประชากร ๖,๔๗๙ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเทศบาลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ คือ มีค่าความถี่ (Frequesncies ) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standart Devition ) และการทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลการหาค่า( T-test ) ด้วยวิธีการวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว (One Way ANOWA ) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Laest Significant Difference : LSD ) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ( In depth Interview ) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ( Key Informant ) วิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

ผลการศึกษา

 

๑) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอ       สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๔.๐๖ ) เมื่อพิจารณา รายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านความพอประมาณมีระดับสูงสุด ( = ๔.๓๒ ) รองลงมา คือ     ด้านความรอบรู้ (  = ๔.๒๗ ) ปานกลาง คือ ด้านการมีเหตุผลและด้านความภูมิคุ้มกัน ด้านการมีเหตุผล ( = ๔.๒๕ ) ด้านความภูมิคุ้มกันเหตุผล (  = ๔.๒๕ )และที่อยู่ระดับท้าย คือด้านคุณธรรมรู้  ( = ๔.๐๔ )

๒) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อปี และตำแหน่งหรือหน้าที่ในหมู่บ้าน/ชุมชน พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อปี และตำแหน่งหรือหน้าที่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเทศบาลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่แตกต่างกันส่วนรายได้ของประชาชนที่มีรายได้ ตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเทศบาลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตติที่ระดับ ๐.๐๕

๓) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า คือ ปัญหาในการส่งเสริมรายได้และความรู้ในการประกอบอาชีพ ตลาดรองรับของผลผลิตทางการเกษตรและหัตถกรรมพื้นบ้าน     การพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อพื้นที่ทางการเกษตรกรรม ขาดการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมภายในชุมชน ของประชาชนเทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

๔) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า  เทศบาลควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีองค์ความรู้ ในการประกอบอาชีพและส่งเสริมรายได้ มีการตั้งโครงการมีการส่งเสริมผลผลิตและการแปรรูปการเกษตรไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องส่งเสริมหัตถกรรมแกะสลัก ในโครงการถนนสายไม้อย่างต่อเนื่อง เทศบาลควรมีการส่งเสริมการพัฒนาแกนนำแต่ละหมู่บ้านเพื่อไปเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชนควรส่งเสริมการออมและการทำบัญชีในครัวเรือน ทำให้ก่อเกิดการประหยัด อดออม รู้จักพอเพียง พออยู่ พอกิน พอใช้ มีการอบรมโดยมีการเชิญวิทยากรหน่วยงานต่าง ๆ มาให้ความรู้ นำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในหลักปรัชญาเศรษฐกิจกิจพอเพียง อาชีพเสริมจากวัสดุภายในพื้นที่ ควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมและควรมีการส่งเสริมการสร้างค่านิยมให้ชุมชนยอมรับคุณค่าความดีของบุคคลจากคุณธรรม จริยธรรม เทศบาลควรมีการส่งเสริมชุมชนให้ประชาชนมีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยภูมิปัญญาควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนสร้างค่านิยมในการพึ่งตนเอง ลดละเลิกอบายมุข และสิ่งเสพติดทุกชนิดและเทศบาลควรมีการพัฒนาการจัดเก็บแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการเกษตร  เทศบาลควรมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ ควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนได้เรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินประจำวันและเทศบาลควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนได้ฝากออมทุกรูปแบบ และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนได้เรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินประจำวันและเทศบาลควรมีการส่งเสริมให้ปะชาชนได้ฝากออมทุกรูปแบบ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕