หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดบุญส่ง จนฺทวณฺโณ (มัจฉา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดบุญส่ง จนฺทวณฺโณ (มัจฉา) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระสงฆ์ทั่วไปในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๓๐๒ รูป ซึ่งผู้ศึกษาทำการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t – test) และค่าเอฟ (f – test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique)

              ผลการวิจัย พบว่า

              ๑. พระสงฆ์มีระดับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๘)

              ๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล โดยภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ และการศึกษาสายสามัญ ที่ต่างกัน มีระดับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มี สถานภาพ พรรษา และตำแหน่งทางคณะสงฆ์ มีระดับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า พระสงฆ์ขาดการส่งเสริมศีลธรรมและจริยธรรมแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง แก่ประชาชน ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการจัดตั้งศูนย์รวมพลังในการป้องกันหมู่บ้านให้เกิดสันติสุข ขาดนโยบาย และแผนงาน ต่างคนต่างทำงานขาดการมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้เป็นรูปธรรม ไม่ค่อยมีการอบรม ส่งเสริมให้เยาวชนสานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และบุญคุณของบิดา มารดา อย่างจริงจัง ไม่ค่อยแสดงธรรมในหัวข้อเรื่อง รู้รักสามัคคีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริมศีลธรรมและจริยธรรมแก่ประชาชนอย่างจริงจัง เน้นการอบรมปลูกฝังอย่างต่อเนื่องเรื่อง การดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นศูนย์กลางการรวมพลังในการป้องกันหมู่บ้านให้เกิดสันติสุข เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมีการเสริมสร้างความเข็มแข็งโดยดึงเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม อบรมส่งเสริมให้เยาวชนสานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และบุญคุณของบิดา มารดา อย่างจริงจัง มีการแสดงธรรมในหัวข้อเรื่อง รู้รักสามัคคีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

             ๔. แนวทางในการส่งเสริมบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม พบว่า การเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรมให้กับคนในชาติ นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนของสังคม จะต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งซึ่งมิใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง การประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อจัดวิทยากรมาอบรมผู้สูงอายุในด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ประสานงานกับพัฒนากรประจำตำบล มาจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องการดำรงชีวิต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินงานส่งเสริมจิตสาธารณะ โดยฝึกบำเพ็ญจิตภาวนาในวันสำคัญทางศาสนา พัฒนาการศึกษาแก่เด็กนักเรียน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐจัดอบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางการดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สงเคราะห์ปัจจัยช่วยเหลือแก่ผู้ที่ยากไร้ อบรมนักเรียนในเรื่องความกตัญญูกตเวทิตาในวันสำคัญต่างๆ ร่วมมือกับผู้นำชุมชนและประชาชนพัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่างๆ ประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชนและประชาชนในอำเภอเมืองจัดงานทำบุญงานประเพณีพื้นบ้านอันเก่าแก่

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕