หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เบญจวรรณ สีตะระโส
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๔ ครั้ง
การให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและ ครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ ( รัฐประศาสนศาสตร์ )
ชื่อผู้วิจัย : เบญจวรรณ สีตะระโส ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                 การวิจัยในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ การให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์

     ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มาติดต่อราชการ ในพื้นที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีจำนวน ๓๑๖ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ
ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๙๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์  โดยใช้สถิติค่าความถี่ (
Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)  ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท     

                   ผลการศึกษาพบว่า

                   ๑. ประชาชนมีความคิดเห็นว่าการให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = .๗๖ )   
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ
ด้านทาน คือ การให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน (  = ๓.๙๕ ) ด้านสมานัตตตา คือ ความเป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย  (  = ๓.๙๕ )  ด้านอัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น  (  = ๓.๖๑ ) ด้านปิยวาจา คือ พูดอย่างน่ารัก วาจาสุภาพอ่อนหวานน่าฟัง (  = ๓.๕๓ )

  ๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มารับบริการมี เพศ, อายุ, การศึกษา, อาชีพ, และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้  

   ๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์

                 ปัญหา อุปสรรค การให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ คือ ๑) ข้อมูลบางครั้งมีความล่าช้า ในการให้บริการประชาชน
๒) บางแผนกงานมีระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติงานนานเกินไป ทำให้ต้องเสียเวลาคอยนาน
๓) บางครั้งมีประชาชนมาติดต่อในเวลาเดียวกันเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่มีน้อยและบางคนขาดประสบการณ์ทำให้ไม่เพียงพอแก่การบริการ ทำให้เกิดความล่าช้าและไม่ค่อยเต็มใจให้บริการ
และป้ายบอกทางไปห้องพิจารณาและป้ายการให้ความรู้ต่างๆ ไม่ชัดเจนและมีขนาดตัวอักษรเล็กเกินไป

          ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการให้บริการประชาชนตามสังคหวัตถุธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ คือ ๑) เจ้าหน้าที่ทุกแผนกควรลงข้อมูลทางคดีให้เป็นปัจจุบันเพื่อให้คู่ความสามารถตรวจสอบข้อมูลเองได้โดยไม่ต้องรบกวนเจ้าหน้าที่ ๒) ควรปรับปรุงลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานให้น้อยลงเพื่อให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น ๓) ควรจะจัดให้เจ้าที่คอยรับบริการในเวลาเร่งด่วน เช่นช่วงเช้าและช่วงบ่ายในการไปห้องพิจารณาและห้องไกล่เกลี่ย และเพิ่มช่องการให้บริการให้มากขึ้น และปรับปรุงป้ายทางไปห้องพิจารณาและป้ายการให้ความรู้ให้มีตัวอักษรขนาดใหญ่และชัดเจน นอกจากนั้นควรมีการจัดอบรมเจ้าที่ในด้านกฎหมายและระเบียบต่างๆของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ให้เป็นมาตรฐาน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕