หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุกัญญา โพธิ์ทอง
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๔ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : สุกัญญา โพธิ์ทอง ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นพดล ดีไทยสงค์
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ๒) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลัก   สาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างจาก บุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม จำนวน ๒๘๗ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๑,๐๑๘ คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนสถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม คือค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลหลัก และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. บุคลากรมีการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๔.๑๐, S.D. = ๐.๕๒) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านสถานการณ์การทำงาน ด้านลักษณะของงาน และด้านการบริหารความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน พบว่า บุคลากรมีการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม อยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และรายได้ต่อเดือน พบว่า บุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่เหลือไม่มีผลต่อการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมของบุคลากร จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓. ปัญหาและอุปสรรคต่อการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พบว่า ๑) บุคลากรไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานและ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมาย ๒) ไม่แบ่งปันข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่าง ๆ ให้แก่เพื่อนร่วมงาน และไม่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนร่วมงานด้วยความหวังดี ๓) ขาดการประสานงานระหว่างเพื่อนร่วมงาน และไม่มีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากยิ่งขึ้น ๔) ขาดความรอบคอบในการปฏิบัติงาน และปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายต่าง ๆ โดยไม่สอดคล้องกับองค์กร ๕) ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กร และยังขาดความปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมงาน

ข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พบว่า ๑) ควรรับฟังคิดเห็นของผู้ร่วมงานเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ และควรยึดเป้าหมายขององค์กรเป็นหลักในการปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จ ๒) ควรมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารรวมถึงความรู้ต่าง ๆ ให้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อเป็นวิทยาทาน และควรให้คำแนะนำแก่เพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ ๓) ควรมีการประสานงาน และทำความเข้าใจระหว่างเพื่อนร่วมงานเพื่อให้การดำเนินงานมีความราบรื่น และต้องศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ๔) ควรมีความละเอียดรอบคอบต่อการปฏิบัติงานและควรปฏิบัติภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร ๕) ควรปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์อย่างเคร่งครัดเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ฝ่าฝืนกฎขององค์กร และมีความปรารถนาดีระหว่างกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กร

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕