หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อนงค์รัตน์ โรจน์สุรัญกิจ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น ของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : อนงค์รัตน์ โรจน์สุรัญกิจ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 22 มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีของในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ๒) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ แนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองสตรีในเขตเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน   ) ศึกษาการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อิทธิบาท 4 เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Medthod) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลำพูนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มีส่วนร่วมในทางการเมืองท้องถิ่นของเทศบาลเมืองลำพูน ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ประกอบไปด้วย 17 ชุมชน จำนวน 6,315 คน  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครซี่และมอร์แกน (R.V.Krejcie & Morgan )วิเคราะห์ข้อมูลโดย (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) หาค่าเฉลี่ย (mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test)  การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different: LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1)  การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ ด้านการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 การมีส่วนร่วมกิจกรรมกับกลุ่มทางการเมืองเฉลี่ยเท่ากับ 4.32  การมีส่วนร่วมแสดงสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 การมีส่วนร่วมรณรงค์ทางการเมืองเฉลี่ยเท่ากับ  3.99 และการมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือหัวคะแนนทางการเมือง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93

2)  เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ สถานภาพ แตกต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นกับเทศบาลเมืองลำพูน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนประชาชนที่มีเพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน เพศต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นกับเทศบาลเมืองลำพูน ไม่แตกต่าง

3)  ปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า บทบาทในการเป็นผู้นำท้องถิ่นของผู้หญิงยังมีอยู่น้อย  ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานทางราชการ ข้อมูลข่าวสาร การติดตามข่าวสารทางการเมืองท้องถิ่น การเผยแพร่เรื่องสิทธิ สตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น ยังมีน้อย ในการร่วมกิจกรรมกับกลุ่มทางการเมืองท้องถิ่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้ผู้หญิงไม่มีสิทธิ เสนอแนวคิด นโยบายต่อนักการเมืองและผู้นำทางการเมือง ขาดการสนับสนุนให้มีบทบาท การลงรับสมัครรับเลือกตั้ง ของพรรคการเมืองท้องถิ่น  ส่วนด้านข้อเสนอแนะหน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนสตรีได้มีส่วนร่วมในการติดตามข่าวสารทางการเมืองท้องถิ่น ควรมีการสนับสนุนให้ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการเลือกตั้ง การตรวจสอบผู้กระทำผิดการเลือกตั้ง         สนับสนุนให้สตรีได้มีบทบาทใน การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจในการใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และควรสนับสนุนให้สตรีได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองท้องถิ่น รวมถึงการลงรับสมัครเป็นนักการเมืองท้องถิ่น

4)  การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สามารถสรุปได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองท้องถิ่น  ควรส่งเสริมสตรีได้มีส่วนร่วมเป็นผู้ให้คำปรึกษา ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งแก่บุคคลอื่นในชุมชน ส่งเสริมสตรีควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่นๆ ในการออกเสียงเลือกตั้งและออกไปเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอ และร่วมกับประชาชนในพื้นที่ในการร่วมกันรณรงค์การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอ มีการประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในระดับต่างๆ ให้ประชาชนทราบ เพื่อที่จะได้ติดตามการบริหารงานของนักการเมืองท้องถิ่นร่วมกัน สตรีควรจะรวมกลุ่มในชุมชนและมีส่วนแนะนำผู้สมัครที่เป็นสตรีเพื่อจะได้มีผู้สมัครเลือกตั้งที่เป็นสตรีได้มีบทบาททางการเมืองท้องถิ่น ควรส่งเสริมด้านงบประมาณให้สตรีมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองท้องถิ่นกับกลุ่มของตน มีการประชาสัมพันธ์นโยบายของพรรค แนะนำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่งเสริมให้สตรีมีการแสดงความคิดเห็นเสนอนโยบายที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อนักการเมืองและผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงการลงรับสมัครเป็นนักการเมืองท้องถิ่น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕