หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพีระยุทธ อคฺคธมฺโม (ผลธรรม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
การจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม(สาขาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพีระยุทธ อคฺคธมฺโม (ผลธรรม) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  สุทธญาณ์ โอบอ้อม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ เมษายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ส่วนที่หนึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า

         ๑. การจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๒๖ และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า การจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในอำเภอ จังหวัดนครปฐม ทั้ง ๖ ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีการจัดการสูงสุดคือ ด้านอารมณ์ โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๔๕ และที่มีความคิดเห็นต่ำสุดคือ ด้านอบายมุข โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๐๙

         ๒. ผลการเปรียบเทียบการจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยการทดสอบสมมติฐาน พระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มีพรรษา การศึกษาสามัญ การศึกษานักธรรมและการศึกษาเปรียญธรรมต่างกัน มีการจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

         ๓. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับ พระสงฆ์ไม่สามารถเลือกอาหารที่โยมนำมาถวายได้ พระสงฆ์ขาดความรู้ด้านโภชนาการอาหาร พระสงฆ์ไม่สามารถออกกำลังกาย เช่น การเล่นกีฬาต่างๆ ได้เหมือนฆราวาส พระสงฆ์ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ พระสงฆ์มีการเจริญจิตภาวนาน้อย ไม่มีการคัดแยกก่อนทิ้งขยะ ไม่มีเวลาในการทำความสะอาดที่อยู่อาศัยและห้องน้ำห้องสุขา มีการเผาขยะมูลฝอยภายในบริเวณวัด มีการอยู่คลุกคลีกับผู้ที่สูบบุหรี่ พระสงฆ์มีการสูบบุหรี่ตั้งแต่ก่อนเข้ามาอุปสมบท ภายในวัดขาดกฎระเบียบบังคับเกี่ยวกับสารเสพติดอย่างจริงจัง ส่วนข้อเสนอแนะคือ โยมควรนึกถึงประโยชน์ของอาหารที่นำมาถวายพระสงฆ์เป็นอันดับแรก ควรมีเจ้าหน้าที่จากสาธารณสุขมาให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารแก่พระสงฆ์ ภายในวัดควรมีห้องสำหรับออกกำลังกายสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ ควรมีการออกกำลังกายเป็นประจำเท่าที่ทำได้ เช่นการกวาดลานวัดเป็นภายในวัดควรมีการฝึกเจริญจิตภาวนาเป็นประจำ เทศบาลควรมีถังขยะเพื่อให้ทางวัดคัดแยกขยะและทิ้งในจุดที่กำหนดไว้ภายในวัด ควรมีการดูแลเรื่องการทำความสะอาดที่อยู่อาศัยเป็นประจำ ควรมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสาธารณสุขมาให้ความรู้และควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงภายในวัด ควรมีเจ้าหน้าที่เทศบาลมาเก็บขยะและให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะแก่พระสงฆ์ ควรมีนโยบายให้เลิกบุหรี่ก่อนเข้ามาอุปสมบท และควรมีโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดแก่พระสงฆ์

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕