หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอาทรกิจจาภิรักษ์ (ฉัตรชมภู)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์โภควิภาค ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอาทรกิจจาภิรักษ์ (ฉัตรชมภู) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             สารนิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์โภควิภาค ๔ ในพระพุทธศาสนา”นี้  มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษาโภควิภาค ๔ ในพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้โภควิภาค ๔ ในสังคมปัจจุบันด้วยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เอกสารวิจัยในทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

             ผลการวิจัยพบว่า โภควิภาค ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นหลักในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้มาเพื่อความเจริญก้าวหน้าและความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ด้วยการแบ่งทรัพย์ที่หามาได้ออกเป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ (๒๕%) นำโภคทรัพย์มาเลี้ยงตนเอง และครอบครัว รวมถึงบุคคลที่อยู่ในการดูแลของตน อันเป็นส่วนที่สามารถนำมาเสริมสร้างต่อความต้องการในการพัฒนาของชีวิต ส่วนที่ ๒ และ ๓ (๕๐%) นำโภคทรัพย์มาลงทุนประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ เพื่อพัฒนาอาชีพให้ไปสู่ระดับสูงขึ้นไป และ ส่วนที่ ๔ (๒๕%) นำทรัพย์มาออม ในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝากเงินไว้ในบัญชีสะสมทรัพย์ เป็นต้น เพื่อนำเงินมาใช้ในยามจำเป็นในอนาคตหรือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน

             การประยุกต์ใช้โภควิภาค ๔ ในสังคมปัจจุบัน เมื่อนำมาเทียบเคียงการใช้ชีวิตของนักศึกษา ก็ควรแบ่งทรัพย์ไว้เป็น ๔ ส่วน คือ (๑) ส่วนที่กันเอาไว้สำหรับใช้จ่ายทั่วไปในชีวิต ๑ ส่วน (๒) ส่วนที่กันเอาไว้สำหรับนำมาลงทุนเพื่อการศึกษา และ (๓) ส่วนที่เก็บประหยัดอดออมไว้สำหรับใช้จ่ายในคราวจำเป็น โดยการนำไปฝากธนาคารและควรเบิกมาใช้ในคราวจำเป็นจริง ๆ เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ จะก่อให้เกิดคุณค่าทางการปฏิบัติ คือ ๑) ประโยชน์จากการนำเงินมาใช้ส่วนตนและทิศทั้ง ๖ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชีวิตได้รับความสุขเพราะมีทรัพย์  การใช้จ่ายทรัพย์  การไม่ต้องเป็นหนี้ และจากการประกอบการงานไม่มีโทษทั้งทางกาย วาจา และใจ  ทำให้เสริมสร้างมิตรภาพและรักษามิตรไว้ได้ มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องนับถือ ด้านจิตภาพ คือทำให้มีสุขภาพจิตดี  มีความเครียดน้อย ๒) ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้โภควิภาคในส่วนของการนำทรัพย์มาลงทุน ทำให้บุคคลที่ปฏิบัติไม่ต้องเป็นภาระต่อสังคม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพราะสามารถนำทรัพย์ส่วนหนึ่งมาบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ และ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ทำให้เกิดสภาพความคล่องในด้านการผลิต การค้าขาย และการบริโภค ส่งเสริมให้เกิดความอยู่ดีของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ภาคธุรกิจ และภาครัฐ ทำให้บุคคลมีอาชีพการงาน ขจัดปัญหาการว่างงาน ความยากจน  ๓) ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ในส่วนของเงินที่ออมไว้ในคราวจำเป็น คือ รู้จักวางแผนและการออมทรัพย์ และทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคง เจริญเติบ ทรัพย์ที่ออมไว้จะเป็นหลักประกันภัยที่ทำให้เกิดความอบอุ่นใจได้

ดาวนโ์หลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕