หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางศศิธร เขมาภิรัตน์
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๐ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบพุทธวิธีในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมกับการแพทย์แผนไทย(๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : นางศศิธร เขมาภิรัตน์ ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  พระศรีสิทธิมุนี
  นายรังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

                    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพุทธวิธีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมกับการแพทย์แผนไทยจากการศึกษาวิจัยพบว่า พระพุทธศาสนาแบ่งโรคเป็น ๒ ประเภท คือ โรคทางกายและโรคทางใจ การแก้ปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยมี ๒ แนวทาง คือ การป้องกันและ การรักษา
๑. การป้องกัน : พระพุทธองค์ทรงใช้หลักปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ
๒. การรักษา : พระพุทธศาสนากล่าวถึงการรักษาโรคทางกาย ๓ วิธี ได้แก่ การรักษาทางการแพทย์ การใช้ธรรมบำบัด การรักษาด้วยพุทธานุภาพ ส่วนการรักษาโรคทางใจ ๓ วิธี ได้แก่ การพิจารณาหาเหตุผล คุณ โทษ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน และการคบกัลยาณมิตร
พระพุทธศาสนาและการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย เป็นรากฐานของการแพทย์แผนไทย
จากการเปรียบเทียบพบว่าพุทธวิธีกับการแพทย์แผนไทยมีทั้งความเหมือนกันและ ความต่างกัน
ความเหมือนกัน ของพุทธวิธีกับการแพทย์แผนไทย คือ :
๑. ร่างกายประกอบด้วยธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
๒. ความไม่สมดุลของธาตุสี่ทำให้เกิดโรค
๓. โรค การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค
๔. การใช้สมุนไพร ยา วิธีการรักษาสร้างภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันโรค
๕. จรรยาแพทย์


ความต่างกัน ของพุทธวิธีกับการแพทย์แผนไทย คือ พระพุทธศาสนากล่าวถึง :


๑. กิเลสสาเหตุให้เกิดโรคทางใจ โรคทางจิต
๒. โรคเกิดจากกรรมในอดีตชาติ
๓. การบำบัดโรคด้วยพระธรรมโอสถและการใช้พุทธานุภาพ
ส่วนการแพทย์แผนไทยไม่กล่าวถึง

 

Download : 254927.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕