หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุธีจันทวงศ์ (ชอบ จนฺทวํโส)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
ศึกษาอนัตตลักษณะของรูปนามในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุธีจันทวงศ์ (ชอบ จนฺทวํโส) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวรเวที (เฉลา เตชวนฺโต)
  วิโรจน์ คุ้มครอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗/มีนาคม/๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาหลักอนัตตลักษณะในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษารูปนามในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาอนัตตลักษณะของรูปนามในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

             จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น ก็เพื่อชำระจิตของผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์สะอาด หมดจดกระทั่งถึงบรรลุ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระองค์ทรงมอบพระพุทธศาสนาให้เป็นสมบัติของพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งได้บรรลุธรรมระดับใดก็ตาม ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาก็ย่อมจะทำให้พุทธบริษัทอื่นเกิดความมั่นใจในการเจริญวิปัสสนาภาวนา

             การเจริญวิปัสสนาภาวนาสามารถพัฒนาจิตของตนขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสามารถบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ และจะได้ช่วยสังคมโลกได้รับประโยชน์คือสันติภาพ ปัญหาต่าง ๆ

ที่โลกกำลังประสบอยู่ เช่น การเบียดเบียนทำลายล้างกัน การแย่งชิงผลประโยชน์จะลดน้อยลงไปตามลำดับ เพราะอาศัยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามีจุดมุ่งหมายพื้นฐานคือ การอบรมจิตใจให้สงบจากนิวรณ์ธรรม คือตัณหา มานะ ทิฏฐิ ความเร่าร้อน ไม่สบายใจ และระแวงสงสัย เป็นต้น จิตที่สงบจากนิวรณ์ธรรมทั้งหลายจักเข้าถึงสภาวะที่เรียกว่าสมาธิ

             อนัตตลักษณะไม่มีอาตมันหรือวิญญาณแต่อย่างใด มีเพียงขันธ์ ๕ ที่ไม่อยู่ในบังคับบัญชาให้เที่ยงหรือเป็นสุขที่ถาวร อนัตตลักษณะจัดเป็นธรรมที่ละเอียดเข้าใจยาก ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ
อนัตตลักษณะไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ และพบในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ปรากฏในศาสนาอื่น

            ดังนั้น การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้นต้องกำหนดรู้อารมณ์ของวิปัสสนา คือ วิปัสสนาภูมิเท่านั้นได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจจ์ ๔ เมื่อย่อลงแล้วได้แก่ นามรูป ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา หรือเป็นธรรมที่อบรมให้เกิดปัญญา และสรรพสิ่งทั้งปวงล้วนเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาทั้งสิ้น เพราะว่า เมื่อเรากำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีสติและไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงนั้น พิจารณาตามความเป็นจริง จะเกิดสภาวะเห็นแจ้งพระไตรลักษณ์ ก็จัดเป็นอารมณ์วิปัสสนาภาวนาได้อย่างแท้จริง จากนั้นการเห็นพระไตรลักษณ์จะเกิดสภาวะเห็นแจ้งรู้ได้ด้วยญาณ คือวิปัสสนาญาณตามลำดับไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕