หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูกิตติสุวรรณาภรณ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
ศึกษาวิปัสสนาภาวนาเพื่อการหลุดพ้นจากมารในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูกิตติสุวรรณาภรณ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรดิลก
  จรูญ วรรณกสิณานนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘/มีนาคม/๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ



                                                บทคัดย่อ

          วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษามารในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อการหลุดพ้นจากมารในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

             มาร คือ มีอยู่ ๕ ประเภท คือ ๑) กิเลสมาร สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ๒) ขันธมาร ได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ๓) อภิสังขารมาร ได้แก่ เจตนาอันปรุงแต่งจิตให้กระทำกรรมวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ ๔) เทวบุตรมาร หมายเอาเหล่าเทวดาผู้ขัดขวางการทำความดี มีพญาวสวัตตีเป็นหัวหน้า และ ๕) มัจจุมาร คือความตายเป็นเหตุตัดโอกาสทำความดีทั้งปวง

        หลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะมีศีลหมดจดงดงาม บริสุทธิ์หมดจด ไม่มีที่พึ่งอันใดที่ยิ่งใหญ่และเป็นบาทฐานให้ปัญญาญาณเจริญงอกงามได้เท่ากับศีล และมีความตั้งใจที่จะหันมาเจริญวิปัสสนาภาวนาเขาย่อมมีการฝึกอบรม ขัดเกลาให้บริสุทธิ์หมดจดยิ่งขึ้นอีก จากเดิมที่มีศีลบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานสิ่งสำคัญในบริบทนี้คือการมีสติ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีสติจดจ่อกับการเกิดดับของรูปนามไม่ขาดช่วงวิปัสสนาปัญญาจะเกิดขึ้นสามารถหยั่งเห็น ความไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของสภาวธรรมทั้งปวงได้ มีปัญญาหยั่งรู้ธรรมดาธรรมชาติที่มีเพียงขันธ์ ๕ หรือรูปกับนาม

   หลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อการหลุดพ้นจากมาร คือ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ
๑) ร่างกายและพฤติกรรมทางกาย ๒) เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ต่าง ๆ ๓) ภาวะจิตที่เป็นไปต่าง ๆ ๔) และธรรมารมณ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาแยกแยะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้เห็นเป็นเพียงรูปนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ดังนั้น ในการปฏิบัตินั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่การมีสติกำหนดรูปนาม เป็นกรอบในการตรวจสอบความก้าวหน้าทางจิต การพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกได้ โดยตั้งสติไว้ในกรรมฐาน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕