หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิชัยนันทกิจ (ยวง นนฺทโก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๓ ครั้ง
ศึกษาความสอดคล้องระหว่างวิสุทธิ ๗ กับไตรสิกขาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิชัยนันทกิจ (ยวง นนฺทโก) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาชิต ฐานชิโต
  สุเทพ พรมเลิศ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓/มีนาคม/๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาวิสุทธิ ๗ ในคัมภีร์พุทธศาสนา-เถรวาท เพื่อศึกษาไตรสิกขาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่าง
วิ
สุทธิ ๗ กับไตรสิกขาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
  โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

ความบริสุทธิ์หมดจดที่ปราศจากกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด เป็นไปทางกาย และทางจิต เป็นเหตุให้เกิดปัญญาที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ น้อมเข้าไปสู่มรรคผลนิพพาน
โดยขั้นตอนแห่งความบริสุทธิ์ คือ วิสุทธิ ๗ ได้แก่ สีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณ-
วิสุทธิ มัค
คามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์หมดจด ๗ ประการนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ไตรสิกขานั้นถือว่าเป็นกระบวนการศึกษา เป็นข้อที่ควรศึกษา ๓ คือ อธิศีลสิกขา คือ ศีลอันยิ่ง เป็นการพัฒนาเพื่อให้เกิดความประพฤติที่เรียบร้อย อธิจิตตสิกขา คือ จิตอันยิ่ง อธิจิตเป็นข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาจิตให้เกิดสมาธิเป็นอย่างสูง อธิปัญญาสิกขา เป็นการฝึกฝนอบรมโดยการทำให้มีขึ้น พัฒนาในด้านของความรู้ ความจริง รู้ตามที่เป็นจริง สามารถรู้เห็นกฎธรรมชาติ คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขขัง อนัตตา ตามความเป็นจริงพร้อมทั้งเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔

การศึกษา ๓ ระดับ ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา มีผลสัมฤทธิ์ก่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ๗ ขั้นตอน คือ วิสุทธิ ๗ ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสน
วิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์หมดจด ๗ ประการ เป็นความบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติไตรสิกขา อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา กระบวน การไตรสิกขาถูกพัฒนาให้เจริญขึ้นส่งผลให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างความบริสุทธิ์ ๗ ขั้น คือ วิสุทธิ ๗ คือ ข้อศึกษาอธิศีลสิกขา ส่งผลให้เกิดศีลที่มีความบริสุทธิ์ สีลวิสุทธิ ข้อศึกษาอธิจิตตสิกขา ส่งผลให้เกิดความบริสุทธิ์หมดจดแห่งจิต จิตตวิสุทธิ ข้อศึกษา อธิปัญญาสิกขา ส่งผลให้เกิดปัญญาที่มีความบริสุทธิ์หมดจด กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์หมดจด ๗ ประการ มีผลมาจากการศึกษาตามหลักของไตรสิกขา โดยการเจริญวิปัสสนาภาวนา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕