หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เบญจมาศ สุวรรณวงศ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของจิตในพุทธศาสนาเถรวาทที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์
ชื่อผู้วิจัย : เบญจมาศ สุวรรณวงศ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

      สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมชาติของจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ในชีวิตประจำวันและเพื่อศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของจิตที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาจากเอกสาร หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                ผลการศึกษาพบว่า จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน  ได้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจในทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ถือว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น จิตดำรงอยู่ได้ด้วยการอิงอาศัยกันของสิ่งที่เรียกว่าเจตสิกอันเป็นองค์ประกอบของจิตเจตสิกเป็นธรรมที่ประกอบจิต มีลักษณะเป็นนาม ปรุงแต่งจิตทำให้จิตรู้อารมณ์ รู้สึกเป็นไปตามอำนาจของนามธรรมนั้นๆความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับเจตสิกมีลักษณะคือ เจตสิกอาศัยจิต   ประกอบกับจิต   เกิดร่วมกับจิต  เกิดพร้อมกับจิต  ดับพร้อมกับจิต  มีวัตถุเดียวกับจิต  และมีอารมณ์เดียวกับจิต  แม้เจตสิกจะเกิดร่วมกับจิต  แต่เจตสิกแต่ละดวงต่างทำหน้าที่เฉพาะตามลักษณะของตน มีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป และเจตสิกมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทำงานของจิตจิตทุกดวงต้องมีเจตสิกประกอบด้วยจำนวนหนึ่งจึงทำให้จิตทำงานได้

พฤติกรรม คือ การกระทำต่างๆของมนุษย์ที่ปรากฏออกมาทางทวารทั้ง๓คือกายวาจาและใจอันเกิดจากการปฏิกิริยาทางระบบต่างๆในร่างกายคือสมองระบบกล้ามเนื้อและระบบต่อมต่างๆรวมทั้งอารมณ์จิตใจที่เกิดจากสิ่งเร้าและสิ่งแวดล้อมต่างๆบ่อเกิดของพฤติกรรมในพุทธศาสนาเถรวาทเกิดจากตัณหาและฉันทะพฤติกรรมของมนุษย์จำแนกได้เป็น๓ประเภทคือก) กายทวารหรือพฤติกรรมทางกายข) วจีกรรมหรือพฤติกรรมทางวาจาค) มโนกรรมหรือพฤติกรรมทางใจซึ่งระดับการให้ผลของพฤติกรรมแบ่งเป็น ๔ ระดับคือ ๑)ระดับภายในจิตใจ  ๒)ระดับบุคลิกภาพ๓)ระดับวิถีชีวิตของบุคคล๔)ระดับสังคม และแบ่งตามระดับคุณภาพของพฤติกรรมที่แสดงออกมี๒อย่างคือระดับกุศลกรรม และอกุศลกรรม  พฤติกรรมแบ่งตามระดับของการพัฒนาชีวิตมี ๓ อย่างคือ พฤติกรรมระดับศีล,ระดับสมาธิและระดับปัญญาองค์ประกอบของพฤติกรรมมนุษย์คือ () การรับรู้ () สติปัญญา () การคิด () เจตคติและ () อารมณ์  และปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์คือ () การรับรู้ () การเรียนรู้  () สติปัญญาและความคิด () ความเชื่อและค่านิยม () เจตคติ () อารมณ์ () แรงจูงใจซึ่งแรงจูงใจต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงพุทธ มี ๒ อย่างคือ แรงจูงใจภายนอก และภายใน

จิตกับเจตสิกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วต่างอิงอาศัยกัน เจตสิกเมื่อประกอบเข้ากับจิตและปรุงแต่งจิตมีผลทำให้จิตมีความแตกต่างกันตามอำนาจของเจตสิกนั้นๆ และตามลักษณะประเภทของเจตสิกที่เข้าประกอบอยู่ เช่น เมื่อจิตถูกเจตสิกฝ่ายดีคือกุศลเข้าปรุงแต่ง เช่น อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นต้น จิตนั้นก็จะเป็นฝ่ายดีคือกุศลจิต เมื่อจิตถูกเจตสิกฝ่ายชั่วเข้าไปปรุงแต่ง เช่น โลภะ  โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็เป็นจิตฝ่ายชั่วคืออกุศลจิต นั่นเอง การปรุงแต่งจิตของเจตสิกนี้นับเป็นว่าสำคัญมาก เพราะจิตที่เป็นฝ่ายดี (กุศล)หรือชั่ว (อกุศล)นี้เป็นต้นเหตุของการกระทำที่คนเราแสดงออกมาทางกายและทางวาจาทั้งในทางที่ดีและไม่ดีเป็นไปตามเจตสิกที่ปรุงแต่งจิตนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดจิตที่เป็นผลที่เรียกว่าวิบากจิตเกิดขึ้นซึ่งเป็นผลของกรรมดีกรรมชั่วที่ได้กระทำแล้ว

พฤติกรรมเกิดจากการทำงานของจิตและเจตสิก ซึ่งจิตรับรู้อารมณ์ เมื่อจิตรับรู้อารมณ์ก็ส่งอารมณ์ไปสู่เจตสิกเพื่อให้เจตสิกเสวยอารมณ์นั้น เมื่อเสวยอารมณ์นั้นๆ ก็จะแสดงพฤติกรรมที่จิตและเจตสิกสั่งการมา  กล่าวคือพฤติกรรมนั้นมีต้นเหตุมาจากเจตสิกที่ปรุงแต่งจิต  ทำให้บุคคลกระทำพฤติกรรมต่างๆทั้งที่เป็นกุศล หรืออกุศล ตามเจตสิกที่ประกอบปรุงแต่งจิตนั้นพฤติกรรมคือการแสดงออกทางกาย (การกระทำ) ทางวาจา( การพูด) ทางใจ( การนึกคิด)ในทางดีและไม่ดีนั้นมีต้นเหตุมาจากเจตสิกที่ดีและไม่ดีปรุงแต่งจิต และพฤติกรรมที่แสดงออกมาทางกายวาจาและที่สืบเนื่องมาจากใจทั้งที่ได้กระทำมาตั้งแต่อดีตปัจจุบันย่อมส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อการกำหนดความเป็นของวิถีชีวิตในอนาคตด้วย ซึ่งการแสดงพฤติกรรมเกิดจาก ตัณหา และฉันทะ อันได้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ อย่างนี้ ทำให้พฤติกรรมของมนุษย์ดำเนินไปในทิศทางต่างๆการฝึกฝนจิตใจเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงพุทธต้องอาศัยธรรมชาติที่เกิดพร้อมกับจิตฝ่ายดีงาม คือ สติมาฝึกจิตมีความรู้เท่าทันในทุกข์  เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมแสดงออกมามีทั้งกุศลอกุศลและอุเบกขาการแก้ปัญหาของมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์นั้นจะต้องครบพร้อมทั้ง๓ด้านคือศีลสมาธิปัญญาคือการพัฒนาระดับศีล เป็นการพัฒนาพฤติกรรมหรือพัฒนาตนเอง โดยการรักษาศีล ทำสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาจะนำซึ่งพฤติกรรมที่ดีงามในการดำเนินชีวิตประจำวันและในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งชีวิตส่วนตัวและสังคมส่วนรวมได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕