หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » บุญส่ง สินธุ์นอก
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
การปรับใช้หลักไตรสิกขาในการประหยัดพลังงานของสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : บุญส่ง สินธุ์นอก ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้พลังงานของคนไทยในสังคมปัจจุบันและเพื่อการปรับใช้หลักไตรสิกขาในการประหยัดพลังงานของสังคมไทยปัจจุบันสารนิพนธ์เรื่องนี้ เป็นการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเสนอเป็นรายงานการวิจัยด้วยวิธีเชิงพรรณนาวิเคราะห์

     ผลการวิจัยพบว่าการจัดการพลังงานของคนไทยในปัจจุบัน  กำลังเผชิญกับปัญหาราคาพลังงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนไทยต้องใช้เงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้คนไทยขาดดุลการค้าและขาดดุลชำระเงิน ดังนั้นการจัดการพลังงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ คือ จะต้องมีนโยบายเป้าหมายที่แน่นอนในการจัดการและอีกประการหนึ่ง การจัดการพลังงานจะต้องคำนึงถึงในหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมและต้องให้สอดคล้องกับชุมชนและสังคมด้วย

              หลักธรรมที่จะนำมาปรับใช้ในการประหยัดใช้พลังงาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะเป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ มนุษย์จะพัฒนาให้ได้เต็มที่ จะต้องได้รับการพัฒนาให้ครบวงจร นั้นก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งหลักศีลก็คือ การพูดที่ถูกต้อง ทำหน้าที่ถูกต้องและการเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง สัมมาอาชีวะ ก็คือ การประกอบอาชีพสุจริตถูกต้องตามทำนองคลองธรรม สมาธิคือการตั้งใจไว้ชอบ มีจิตมุ่งมั่นในการจัดการงานทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการจัดการกับพลังงาน และงานส่วนอื่นๆ ส่วนปัญญาเป็นเครื่องมือในการพิจารณาในการดำเนินงานทุกประเภทด้วยเหตุผล เช่น การใช้พลังงานอย่างสมประโยชน์ และมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น

              ไตรสิกขา เป็นระบบการฝึกภายนอกเข้าสู่ภายใน จากส่วนที่หยาบเข้าสู่รายละเอียด จากส่วนที่ง่ายไปสู่ส่วนที่ยากและส่วนที่ลึกซึ้ง ดังจะเห็นได้จากเริ่มต้นด้วยวินัยในการประหยัดพลังงาน วินัยคือศีลนี้เองจะส่งเสริมให้ตระหนักถึงคุณค่าของการประหยัดพลังงาน  และก่อนจะใช้พลังงานก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาด้วยเหตุผลว่า ควรหรือไม่ควรในการอนุรักษ์และประหยัดการใช้พลังงานได้อย่างมีเหตุผล

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕