หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนิทัศน์กิจจาทร ( วันชัย สามารถ )
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการในการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนิทัศน์กิจจาทร ( วันชัย สามารถ ) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๓/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  พระศรีสมโพธิ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้  มีวัตถุประสงค์  ๓ ประการคือ  ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ๒) เพื่อศึกษาการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลจังหวัดนครสวรรค์  ๓) เพื่อศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการในการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)  โดยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร คือ คัมภีร์พระไตรปิฎก ตลอดจนเอกสาร ตำราวิชาการ ผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วประมวลข้อมูลโดยนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอสรุปการวิจัยด้วยวิธีนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา นำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปผล และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องการวิจัยเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ความเป็นมาของพระสังฆาธิการในการดำเนินการอบรมประชาชนประจำตำบล เกิดมาเมื่อเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๘ และดำเนินการแก้ไขปีพ.ศ.๒๕๔๖ แต่อาจจะไม่ได้กล่าวขานในนามของพระสังฆาธิการ อันหมายพระไปประกาศและอบรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับพระองค์ ให้ชาวโลกได้รู้จักและให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ชาวโลกอย่างแท้จริงและนำธรรมเหล่านั้นไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้บรรลุนิพพาน หรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการนั่นเอง  

๒) การดำเนินการของหน่วยการอบรมประชาชนประจำตำบล ในจังหวัดนครสวรรค์ บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน ๒ แนวทาง คือ () บทบาทหลักหรือบทบาทโดยตรงของพระสงฆ์คือการเป็นผู้นำชุมชนในทางด้านจิตใจส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมสติปัญญาที่ถูกต้องแก่ชุมชนเป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งเป็นรากฐานความเจริญความสุขของสังคมอย่างแท้จริง () บทบาทรองในบางกรณีอาจมีบทบาทอื่นที่พระสงฆ์อาจจำเป็นและควรเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นผู้รับแรงศรัทธาจากชาวบ้านอาจแนะนำประชาชนในท้องถิ่นให้เห็นลู่ทางในการพัฒนาด้านวัตถุที่เหมาะสมหรือเป็น       ผู้ประสานรวมตัวชาวบ้านในการพัฒนาและอาจใช้วัดเป็นสถานที่รวมกลุ่มเป็นต้น

แนวทางในการประพฤติตนที่ดี เหมาะสมเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข คือ อปริหายธรรม สัปปุริสธรรม พรหมวิหาร อริยสัจ และ มรรค หรือเรียกว่าธรรมแห่งความหลุดพ้นก็สามารถนำมาใช้ในการอบรมพัฒนา ทั้งสำหรับบรรพชิต และคฤหัสถ์ ได้แก่ ทุกข์ หมายถึง รู้สภาวะที่เป็นทุกข์ สมุทัย หมายถึง รู้สิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ นิโรธ หมายถึง รู้ภาวะดับทุกข์ และ มรรค หมายถึง รู้มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จากหลักธรรมดังกล่าวนี้เป็นเพียงหลักธรรมบางส่วนที่เป็นแนวเพื่อการดำเนินกิจกรรมหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

๓) ผลสัมฤทธิ์ในการอบรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ ตำบลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ปี พ.ศ.๒๕๒๐ เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาการอบรมเผยแผ่ให้มีรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบัน รวมถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร อันหมายถึงการเผยแผ่เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพก็ต้องพัฒนาการอบรมเผยแผ่โดยใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารเข้ามาช่วยในการอบรมเผยแผ่ เพราะนอกจากทำให้การรับการอบรมในด้านธรรมะ ไม่เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายสำหรับการฟังแล้ว ก็ยังช่วยให้นักเรียน เยาวชน และประชาชนที่ฟังเกิดการอยากรู้ อยากเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมที่จะรับฟัง และปฏิบัติตามในสิ่งที่ตนต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

โดยสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่า พระสังฆาธิการได้นำพุทธวิธีการอบรมเผยแผ่พระพุทธศาสนามีการใช้เทคนิคการเผยแผ่ธรรมของพระองค์เป็นหลักสำคัญ  พุทธวิธีด้านการบริหารมีหลักธรรมาธิปไตยเป็นแนวทางการบริหารงานทางพระพุทธศาสนา ในอำเภอตาคลี ได้นำพุทธวิธีมาประยุกต์ใช้ในการอบรมเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยสร้างรูปแบบการเผยแผ่ให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน  รักษาไว้ซึ่งหลัก  ปริยัติ  ปฏิบัติ  ปฏิเวธ  ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในอนาคตสืบต่อไป

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕