หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อาภากรณ์ หงษ์ยิ้ม
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตความรับผิดชอบสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : อาภากรณ์ หงษ์ยิ้ม ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูนิวิฐศีลขันธ์
  อัครเดช พรหมกัลป์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตความรับผิดชอบสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตความรับผิดชอบสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตความรับผิดชอบสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์    

 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๙๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตความรับผิดชอบสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตสถานีตำรวจภูธรเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.42) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความร่วมมือการป้องกันและปราบปรามต่อครอบครัว (= ๓.๕๐) ด้านความร่วมมือการป้องกันและปราบปรามต่อสังคม (= ๓.๔๐) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความร่วมมือการป้องกันและปราบปรามต่อตนเอง (= ๓.๓๗)

๒) ผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตสถานีตำรวจภูธรเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประขาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตสถานีตำรวจภูธรเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตสถานีตำรวจภูธรเมือง จังหวัดนครสวรรค์  พบว่า การทำงานของข้าราชการตำรวจขาดความต่อเนื่อง ขาดการประชาสัมพันธ์ ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจเลือกปฏิบัติกับประชาชนไม่ค่อยมีความเป็นธรรม และประชาชนขาดความรู้ ความสามารถในการป้องกันตนเอง และไม่คอยให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการชี่ตัวผู้กรทำความผิดเพราะหวาดกลัวในอันตรายต่อเอง  ข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตสถานีตำรวจภูธรเมือง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีการเฝ้าระวังและติดตาม หาเบาะแส เพื่อการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง ต้องรับรองความปลอดภัยของพยานและหาวิธีพัฒนาการในการชี่ตัวหรือเป็นพยานโดยไม่ให้ผู้ต้องหาได้เห็นตัวผู้กระทำความผิด และต้องให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และมีการจัดการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถของกับประชาชน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕