หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ลีวิจ ลึม
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ลีวิจ ลึม ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ
  พระครูสิริคีรีรักษ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้า          ส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับ ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับ  ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนา ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์

ดำเนินการตามระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่มาใช้บริการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๙๙ ราย โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .927 และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การทดสอบค่าที (t-test) การตรวจสอบ ค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู้ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยสุด (Least Significant Difference: LSD) กับการวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ รูป / คน ซึ่งในการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Techniques) ประกอบบริบท (Context)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค            จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๓.๖๒) โดยมีรายละเอียดดังนี้                   ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ (=๓.๖๙ ) ด้านคุณภาพของการให้บริการ (=๓.๖๖ )          ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ (=๓.๖๒) ด้านความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการให้บริการ (=๓.๕๙)          และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (=๓.๕๔)

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อ ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อ ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมต่างกัน ( Sig. = ๐.๓๓๘ ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ปัญหา อุปสรรค ในการให้บริการประชาชนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์นั้น ในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน บางท่านมีความอนุเคราะห์ดี บางท่านเข้มงวดในกฎเกณฑ์มากไป ประชาชนไม่ได้รับบริการอย่างเพียงพอ ไม่มีการ  จัดน้ำดื่มและช่องทางสำรับผู้สูงอายุเจ้าหน้าที่บางคนยังขาดความเป็นกันเองกับประชาชนที่มาข้อรับใช้บริการ ขาดการชี้แจง

ข้อเสนอแนะ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์ ควรมีการจัดน้ำดื่มให้กับประชาชนที่มาข้อรับใช้บริการและช่องทางสำหรับผู้สูงอายุ และควรให้คำอธิบายต่างๆกับประชาชนที่มาข้อรับใช้บริการและความมีการชี้แจงสิ่งต่างๆให้กับประชาชนในทุกด้านพร้อมการให้บริการเท่าเทียมกัน โดยยึดกฎระเบียบหรือข้อบังคับเดียวกัน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕