หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชุลี นามสอน
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บมจ.ซีพี ออลล์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ (สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ชุลี นามสอน ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริคีรีรักษ์
  พระครูนิวิฐศีลขันธ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการ ในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บมจ.ซีพี ออลล์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บมจ. ซีพี ออลล์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการจังหวัดนครสวรรค์

ดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานสายปฏิบัติการ ร้านสาขาเซเว่นอีเลฟเว่น ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒๙๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บมจ. ซีพี ออลล์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(Key Informants) จำนวน ๘ ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ระดับการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการ บมจ.ซีพี ออลล์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.๒๔) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ (=3.๕๒)  ด้านอัตถจริยา การสงเคราะห์ทุกชนิด (=3.๔๘) ด้านสมานัตตตา การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ (=3.๔๘) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านทาน การให้ (=3.22)

๒) ผลการเปรียบเทียบการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บมจ. ซีพี ออลล์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ตำแหน่งงานของ อายุงานและเงินเดือนของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการ ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรคของการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการ บมจ.ซีพี ออลล์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจไม่เด็ดขาด ควรตัดสินใจให้เด็ดขาด ไม่มีความเสมอภาค ควรเปิดใจให้กว้างรับฟังทุกเรื่อง ในการปฏิบัติงานเพื่อนร่วมงานไม่ค่อยรับฟังความคิด มักเอาแต่ความคิดของตนเป็นใหญ่ มีอคติกับลูกน้อง ควรสอบถามและคุยกันก่อนที่จะต่อว่า การประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนมักมีข้ออ้างที่จะตัดสิทธิ์เพื่อไม่ให้ได้ขั้นเงินเดือนเสมอ ไม่มีความเสมอภาคของผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ปฏิบัติ ข้อเสนอแนะการสร้างแรงจูงใจเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการ บมจ.ซีพี ออลล์ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้บังคับบัญชาต้องให้ความเสมอภาคกับผู้ร่วมงาน ต้องได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อนำความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบัน ควรปรับปรุงในเรื่องของการบริหารงานและความยุติธรรมในการทำงาน ทั้งนี้การปฏิบัติงานของพนักงานจะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องได้รับการสนับสนุน แนะนำ จากผู้บริหาร และผู้บังคับบัญชาที่ดี และบุคลากรในองค์กรต้องให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน การพัฒนาองค์กรต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ควรพิจารณาตั้งงบประมาณในด้านระบบเทคโนโลยีให้มาก เพราะการนำเทคโนโลยีมาใช้สำคัญมากๆ เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕