หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธราธร นาถธมฺโม (เทพวรรณ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์(สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระธราธร นาถธมฺโม (เทพวรรณ) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

                การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๘๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๙ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative.Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =.๘๒) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านทาน ด้านศีล ด้านปริจจาคะ ด้านอาชชวะ ด้านมัททวะ ด้านตปะ ด้านอักโกธะ ด้านอวิหิงสา ด้านขันติ และด้านอวิโรธนะ อยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ด้านทาน มากที่สุด คือ ปัญหาความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และควรมีการปลูกฝังจิตสำนึกให้เกิดความเสียสละ มีจิตสาธารณะ ด้านศีล มากที่สุด คือ ปัญหาการกำหนดลงโทษอย่างยุติธรรม และควรมีการฝึกปฏิบัติรักษาศีลเบื้องต้น ด้านปริจจาคะ มากที่สุด คือ ปัญหาการปรับเปลี่ยนโยกย้ายอย่างเหมาะสม และควรมีการทำให้ผู้อื่นได้เห็นประโยชน์แห่งการเสียสละส่วนตน ด้านอาชชวะ มากที่สุด คือ ปัญหาการมีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อประชาชน และควรการประชาสัมพันธ์ชี้แจงต่อสาธารณชน ด้านมัททวะ มากที่สุด คือ ปัญหาการใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง และควรเน้นหลักการสร้างไมตรี รักษาน้ำใจให้เกียรติซึ่งกันและกัน ด้านตปะ มากที่สุด คือ ปัญหาการโลภในผลประโยชน์ที่มิพึงจะได้ และควรมีความอดทน อดกลั้นในการทำงาน ด้านอักโกธะ มากที่สุด คือ ปัญหาการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา และควรรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน ด้านอวิหิงสา มากที่สุด คือ ปัญหาการช่วยเหลือสังคมตามกำลังความสามารถ และควรมีการวางแผน ประชุม ปรึกษาหารือ ถึงประโยชน์และผลกระทบต่างๆ ด้านขันติ มากที่สุด คือ ปัญหาการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม และควรต้องมีความอดทน อดกลั้น ด้านอวิโรธนะ มากที่สุด คือ ปัญหาความพยายามแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี และควรวางตัวเป็นกลาง ปราศจากอคติ

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕