หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบุลยเดช เตชปุญโญ (จันทร์หอม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดพุทธสุนทรียศาสตร์ในจิตรกรรมภาพวาดดอกบัวของทวี นันทขว้าง
ชื่อผู้วิจัย : พระบุลยเดช เตชปุญโญ (จันทร์หอม) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  ณัทธีร์ ศรีดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธสุนทรียศาสตร์ (๒) เพื่อศึกษาจิตรกรรมภาพวาดดอกบัวของทวี  นันทขว้าง และ (๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดพุทธสุนทรียศาสตร์ในจิตรกรรมภาพวาดดอกบัวของทวี  นันทขว้าง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

จากการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ พบว่า แนวคิดพุทธสุนทรียศาสตร์ เป็นวิชาที่ทำให้พัฒนาคน ให้เกิดเป็นผู้รู้ในสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ให้เป็นผู้ตื่น จากความหลงใหล หมกมุ่นในกระแสกิเลสทั้งปวงมีความเบิกบานบริสุทธิ์ผ่องใส จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง วัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ พบว่า จิตรกรรมภาพวาดดอกบัวของทวี  นันทขว้าง มีลักษณะเป็น ศิลปะตะวันออก จัดเป็นศิลปะแบบ( Idealistic Art ) ในประเภทของจิตรกรรมภาพวาดดอกบัวมี ๒ ประเภท คือ ๑.ประเภทศิลปะบริสุทธิ์ หรือ วิจิตรศิลป์  (Pure Art หรือ Fine Art) ๒. ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) ดังนั้น ผลงานของทวี นันทขว้างมีเนื้อหาดังนี้ ๑. เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา ๒.เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของทวี นันทขว้าง ๓. สัญลักษณ์ของพุทธสุนทรียศาสตร์ และวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ พบว่า ผลงานศิลปะพุทธสุนทรียศาสตร์ในจิตรกรรมภาพวาดดอกบัวของทวี  นันทขว้าง เป็นการศึกษาปฏิบัติ หรือฝึกตน เกิดจากความงามในมิติทางโลก เป็นแนวทางในการบรรเทา ตัณหา ราคะ และความงามในมิติทางธรรม มาฝึกปฏิบัติตน เป็นไปเพื่อศีล สมาธิ ปัญญา สมถะวิปัสสนา มรรค ผล แล้ว นิพพาน

จากการวิเคราะห์ผู้วิจัยมีความเห็นว่าผลงานศิลปะของอาจารย์ทวี นันทขว้าง เป็นจินตนาการ ของความรู้สึกประทับใจต่อธรรมชาติ และทักษะความชำนาญในการสร้างสรรค์ศิลปะที่ก่อให้เกิดความงามอันลึกซึ้งที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจ เป็นผลงานที่ทีความงดงามแฝงไว้ด้วยข้อคิดคติธรรมและคำสอนแต่การวาดตะวันออกนี้ยังไม่ชัดเจน มีการผสมแนวคิดมาวาด เป็นตัวแทนภาพเขียนตะวันออกแต่เทคนิคการเขียนเน้นแบบตะวันตก                                        

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕